รัฐทยอยปลดล็อกธุรกิจ หนุนดัชนีเชื่อมั่นเอสเอ็มอีขยับเล็กน้อย

Fern751

  • *****
  • 2163
    • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     


นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี(SMESI) เดือนสิงหาคม 2564 อยู่ที่ระดับ 31.9 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าแต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ (น้อยกว่าค่าฐานที่ 50) สะท้อนว่าผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อมั่นต่อภาวะธุรกิจและเศรษฐกิจในปัจจุบัน

ทั้งนี้การปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีฯ เป็นผลจากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายวันมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2564 และมีสัญญาณการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคระบาดในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) ที่อนุญาตให้ธุรกิจบางแห่งเปิดให้บริการซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายได้ภายใต้เงื่อนไข โดยสอดคล้องกับ Facebook movement range และ Google mobility index ซึ่งสะท้อนการเคลื่อนย้ายของผู้คน ที่เพิ่มขึ้นชัดเจนในช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา บ่งชี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยองค์ประกอบของดัชนีด้านคำสั่งซื้อ ปริมาณการผลิต/การค้า/บริการ การลงทุน กำไร และการจ้างงาน ปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 21.5 22.9 34.0 21.3 และ 41.0 ตามลำดับ


ส่วนองค์ประกอบด้านต้นทุนปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 51.0 และดัชนี SMESI ภาคการผลิต ภาคการค้า และภาคบริการ ในเดือนนี้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 31.8 36.0 และ 29.0 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามค่าดัชนี SMESI ยังค่อนข้างต่ำจาก 50 อยู่มาก สะท้อนว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังกังวลต่อภาวะธุรกิจและเศรษฐกิจ ซึ่งต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป 

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของผู้ประกอบการรายภูมิภาค ได้แก่ เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปัจจุบันอยู่ที่ 30.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 26.6 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากค่าเดิมที่ต่ำที่สุดเมื่อเดือนก่อนหน้า จากการผ่อนปรนมาตรการควบคุมโรคในพื้นที่ ทำให้ธุรกิจหลายประเภทกลับมาเปิดดำเนินกิจการและให้บริการได้มากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหาร และการผลิตอาหาร แม้จะมีข้อจำกัดในการนั่งรับประทานที่ร้าน แต่ยังสามารถขายผ่านเดลิเวอรี่ได้

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคกลาง ปัจจุบันอยู่ที่ 29.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 28.7 ภาพรวมของธุรกิจปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย จากภาคการผลิต และการขนส่งสินค้าขยายตัว แต่พื้นที่ยังมีข้อจำกัดในการจัดกิจกรรมทางสังคมอยู่มาก ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการรวมกลุ่มของผู้คนยังคงชะลอตัวอยู่ เช่น ธุรกิจสันทนาการ/วัฒนธรรม/กีฬา เป็นต้น

Pfizer เผยวัคซีนปลอดภัย-ได้ผลดีในเด็ก 5-11 ปี
บาทเปิด 33.38/40บาทต่อดอลลาร์ แนวโน้มอ่อนค่า
ด้านดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคตะวันออก ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 30.7 ค่อนข้างทรงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 30.6 จากผลกระทบกลุ่มคลัสเตอร์โรงงานและสถานประกอบการ และมีปัญหาอุทกภัยน้ำท่วมในพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตโดยเฉพาะกลุ่มผลิตเสื้อผ้าและสิ่งทอ

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคเหนือ ปัจจุบันอยู่ที่ 28.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 27.4 หลายธุรกิจมีการขยายตัวของยอดคำสั่งซื้อ เช่น ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง และรับเหมาก่อสร้างขนาดเล็ก แต่ธุรกิจโรงแรมและที่พักในพื้นที่ยังคงซบเซาอย่างมาก ส่งผลต่อรายได้และสภาพคล่องของภาคธุรกิจหลายแห่งต้องปิดกิจการชั่วคราว อีกทั้งพบคลัสเตอร์การแพร่ระบาดหลายแห่ง และราคาลำไยปรับตัวลดลงส่งผลต่อรายได้ภาคการเกษตรทำให้ค่าดัชนีรวมของพื้นที่น้อยที่สุด 

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคใต้ ปัจจุบันอยู่ที่ 36.8  เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 35.9 จากธุรกิจส่วนใหญ่ยังเปิดดำเนินกิจการได้ และได้รับผลบวกจากโครงการ Phuket Sandbox อย่างไรก็ตาม จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่มากนัก และมักอยู่ในเฉพาะพื้นที่โรงแรม/ที่พัก หรือท่องเที่ยวใกล้ที่พักเท่านั้น ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวไม่ได้รับผลบวกเท่าที่ควร   ส่วนภาคเกษตรกรมีรายได้ปรับตัวดีขึ้น ตามราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น อาทิ ปาล์มน้ำมัน และยางพารา

และดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 34.5 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 33.4  เนื่องจากพื้นที่มีข้อจำกัดในการเดินทางค่อนข้างน้อย ทำให้หลายธุรกิจยังพอดำเนินการได้ โดยเฉพาะร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป และธุรกิจด้านความงาม รวมไปถึงการผลิตอาหาร และกลุ่มงานไม้และเฟอร์นิเจอร์ของตกแต่งบ้านที่ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 45.2 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 41.9 เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะคลี่คลายมากยิ่งขึ้น และสามารถดำเนินธุรกิจได้คล่องตัวมากขึ้น มีผู้บริโภคออกมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นเมื่อเทียบกับปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค อีกทั้งมีความคาดหวังว่าธุรกิจการท่องเที่ยวจะปรับตัวดีขึ้นในช่วง high season ของปลายปี และกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ที่น่าจะดำเนินธุรกิจได้มากขึ้น ภายใต้ข้อกำหนดการควบคุมโรค

อย่างไรก็ดีปัจจุบันปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อกิจการเอสเอ็มอี 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. ด้านผู้บริโภคและกำลังซื้อ 2. ด้านต้นทุน 3. ด้านการได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงาน 4. ด้านคู่แข่งขัน และ 5. ด้านแรงงาน