หุ้นไทยไม่ไปไหนไกล นักลงทุนทั่วโลกลดสัดส่วนลงทุน รอผลประชุมเฟด

kaidee20

  • *****
  • 3159
    • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     


หุ้นไทยแกว่งตัว 1,615-1,630 จุด นักลงทุนลดสัดส่วนลงทุนรอติดตามประชุมเฟด 21-22 ก.ย.นี้-จับตา China Evergrande Group เผชิญวิกฤตสภาพคล่องสัปดาห์นี้ครบกำหนดจ่ายดอกเบี้ยหุ้นกู้ ติดตามตัวเลขส่งออก-นำเข้าไทยเดือน ส.ค.-ประชุม BOJ-BOE-การเมืองต่างประเทศ หากปัจจัยภายนอกดูย่ำแย่ลง สัปดาห์นี้ SET Index อาจปรับลงไปทดสอบ 1,600 จุดได้

วันที่ 20 กันยายน 2564 บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) รายงานภาวะตลาดหุ้นไทยวันนี้ว่า คาดดัชนี SET Index เช้านี้แกว่งตัวออกข้างในกรอบระหว่าง 1,615-1,630 จุด โดยสัปดาห์นี้มีปัจจัยสำคัญคือการประชุม FOMC ของธนาคารกลางสหรัฐ(FED) ระหว่างวันที่ 21-22 ก.ย. 64 (ตามเวลาสหรัฐ) ที่คาดว่าจะทำให้นักลงทุนทั่วโลกลดสัดส่วนการลงทุนเพื่อรอติดตามท่าทีของเฟด โดยเฉพาะประเด็นการทำ QE Tapering

นอกจากนี้แล้วนักลงทุนบางส่วนน่าจะกำลังติดตามวิกฤตสภาพคล่องของบริษัทอสังหาฯ Evergrande ของจีนว่าจะกลายเป็น Asia Subprime หรือไม่ ส่วนในประเทศสถานการณ์ COVID-19 ยังทรงตัว ท่ามกลางการเร่งฉีดวัคซีนให้ได้ตามเป้า 50 ล้านคนในปีนี้เพื่อเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในไตรมาส 4/64

โดยรวมจึงคาดตลาดหุ้นไทย จะยังไม่สามารถขยับไปไหนได้ไกล และหากปัจจัยภายนอกดูย่ำแย่ลง สัปดาห์นี้อาจปรับลงไปทดสอบ 1,600 จุดได้


จับตาวิกฤตบริษัทอสังหาฯ China Evergrande Group ของจีน กำลังเผชิญวิกฤตด้านสภาพคล่อง โดยสัปดาห์นี้จะครบกำหนดการจ่ายดอกเบี้ยของหุ้นกู้ และมีความเป็นไปได้ว่าจะผิดนัดชำาระหนี้ตามการปรับลดอันดับเครดิตของ

Fitch Ratings จากระดับ CCC+ ลงเป็นระดับ CC ทั้งนี้จากข้อมูลล่าสุดพบว่า Evergrande มีหนี้สินรวมประมาณ 1.97 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 3.04 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นราว 2 ของ GDP ประเทศจีน ที่หากรัฐบาลจีนไม่เข้าแทรกแซงกรณีดังกล่าวอาจส่งผลให้เกิดการล้มครั้งใหญ่ของเศรษฐกิจจีน และเสี่ยงลุกลามเป็น Asia Subprime

แม้ว่ากรณีดังกล่าวจะไม่กระทบต่อตลาดหุ้นไทยโดยตรง แต่เป็นความเสี่ยงของเศษฐกิจในภูมิภาคที่อาจส่งแรงกระแทกมาถึงซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจจาก COVID-19 ที่ยังคงทำให้หลายประเทศฟื้นตัวได้ไม่มาก ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ว่าเม็ดเงินอาจไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างเงินดอลลาร์สหรัฐเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงดังกล่าวจากจีน

ส่วนมุมมองการประชุม FOMC ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 21-22 ก.ย. 64 (ตามเวลาสหรัฐ) คาด Fed คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ตามเดิมที่ 0.00-0.25% แต่จุดสำคัญอยู่ที่คาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐในปีนี้ที่อาจถูกปรับลดลงหรือ


ในกรณีดีที่สุดใกล้เคียงเดิมหลังสหรัฐเผชิญการระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลต้าทำให้เศรษฐกิจเริ่มชะลอลง รวมถึงผัง Dot Plot ของกรรมการเฟดที่เผยถึงทิศทางการตัดสินใจในเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐในอนาคต

ส่วนการทำ QE Tapering คาดว่ายังไม่เกิดขึ้นในการประชุมครั้งนี้ แต่มีความเป็นไปได้ว่าเฟดจะเปิดเผยแผนการทำ QE Tapering ออกมาและประกาศในการประชุมครั้งหน้า

สำหรับปัจจัยอื่นน่าติดตามในรอบสัปดาห์นี้ได้แก่ 1.ตัวเลขส่งออก-นำเข้า ของไทยเดือน ส.ค.64 2.การประชุมธนาคารญี่ปุ่น(BOJ) และธนาคารอังกฤษ(BOE) และ 3.การเมืองต่างประเทศ เลือกตั้งทั่วไปของเยอรมนี และการเลือกตั้งชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรค LDP ของญี่ปุ่น