กำลังซื้อตก-แบงก์เข้มปล่อยกู้ พฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนเบรกซื้อหันมาเช่าอยู่

Beer625

  • *****
  • 2322
    • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     


นับจากเกิดวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 ในประเทศไทยตลาดคอนโดมิเนียมกลายเป็นกลุ่มสินค้าในตลาดที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด เนื่องจากกลุ่มลูกค้าหลัก คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ คนเริ่มทำงาน ชาวต่างชาติ และกลุ่มนักลงทุน ซึ่งกลุ่มลูกค้าเหล่านี้บางส่วนมีกำลังซื้อที่ลดลง จากผลกระทบเศรษฐกิจ และการลดเวลาจ้างงานในธุอรกิจต่าง ๆ บางส่วนต้องเดินทางกลับประเทศต้นสังกัดและบางส่วนต้องชะลอการซื้อเพื่อดูสถานการณ์ ทำให้ดีมานด์คอนโดหดตัวกระทันหันอย่างรุนแรง ขณะที่จำนวนซับพลายในตลาดยังคงเพิ่มจำนวนขึ้นต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ตลาดคอนโดเริ่มกลับมามีสัญญาณที่ดีขึ้น ภายหลังจากเกิดการระบาดของเชื้อโควิด-19 ในระลอกที่3 ซึ่งในส่งฝผลให้ประเทสไทยต้องกลับมาล็อกดาวน์จนธุรกิจทุกอย่างหยุดชะงัดและมีผลต่อรายได้ของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากกว่าปกิ โดยประเด็นหลักที่สถาบันการเงินใช้ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อที่อยู่อาศัย คือ เสถียรภาพทางการเงินและอาชีพของผู้กู้ ทำให้ในปัจจุบันมีเพียงกลุ่มคจำนนน้อยที่มีความสามารถในการขอสินเชื่อที่อยูอาศัย

อัตราการปฏิเสธสินเชื่อและการเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เข้มข้นทำให้ ผู้บริโภคชะลอแผนการซื้อที่อยู่อาศัยและเปลี่ยนมาเช่าที่อยู่อาศัยแทน โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ และคนเริ่มทำงานใหม่ ซึ่งมีไลฟสไตล์การอยู่อาศัยในย่านใจกลางเมืองและใกล้แหล่งทำงาน พฤติกรรมดังกล่าวทำให้ความต้องการคอนโดเช่าปรับตัวดีขึ้นเลื่อยๆ และหากยังมีทิศทางเช่นนี้เชื่อว่าในระยะอันใกล้นี้ตลาดคอนโดน่าจะกลับมาเห็นแสงปลายอุโมงได้ไม่ยาก

สุรเชษฐ กองชีพ
สุรเชษฐ กองชีพ

นายสุรเชษฐ กองชีพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟีนิกซ์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ แอนด์ คอลซันแทนซี่ จำกัด กล่าวว่า ตลาดคอนโดมิเนียมปล่อยเช่าจริง ๆ แล้วค่อนข้างมีปัญหามาก่อนี่จะเกิดวิกฤตโควิด-19แล้ว เนื่องจากจำนวนคอนโดมิเนียมที่สร้างเสร็จเข้าสู่ตลาดมีจำนวนมากในแต่ละปี อีกทั้งมีผู้ซื้อบางส่วนที่ตั้งใจซื้อคอนโดมิเนียมเพื่อการลงทุนในระยะยาวหรือซื้อมาเพื่อปล่อยเช่าโดยหวังทั้งรายได้จากค่าเช่าและขายต่อในอนาคตในราคาที่สูงขึ้นซึ่งจัดได้ว่าเป็นการลงทุนในระยะยาว โดยกลุ่มเป้าหมายของนักลงทุนรูปแบบนี้ คือชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยและต้องการที่พักในระยะยาวมากกว่า 1เดือนขึ้นไปเพราะการปล่อยเช่ารายวันผ่านการดูแลของกลุ่มบุคคลหรือแอปพลิเคชั่นต่างๆยังไม่เป็นที่ยอมรับในประเทศไทย แม้ว่าจะมีการทำแบบนี้จะมีให้เห็นอยู่บ้าง

อย่างไรกามหลังเกิดวิกฤตโควิด-19 มีผลให้การลงทุนหรือธุรกิจจำนนมากจำเป็นต้องชะลอการลงทุนหรือยกเลิกการขยายกิจการรวมไปถึงหยุดกิจการชั่วคราวชาวต่างชาติที่เคยเช่าคอนโดมิเนียมอยู่เริ่มทยอยย้ายออกและกลับประเทศไปแต่ก็ยังมีชาวต่างชาติบางส่วนที่เลือกที่จะย้ายออกจากที่พักที่พวกเขาเคยอยู่ซึ่งอาจจะเป็นอพาร์ตเม้นต์เซอร์วิส อพาร์ตเม้นต์ หรือโรงแรมมาเช่าคอนโดมิเนียมอยู่เพราะมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ไม่แตกต่างกันแค่หาบริการเรื่องของการทำความสะอาดและซักรีดเสื้อผ้าเพิ่มเติมเท่านั้นแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าตลาดคอนโดมิเนียมเช่าจะมีลูกค้าต่อเนื่องแบบไม่ขาดตอน หรือไม่ได้รับผลกระทบ

ก่อนหน้านี้ด้วยจำนวนคอนโดมิเนียมที่เข้าสู่ตลาดในแต่ละปีมีมากกว่า40,000 ยูนิตหรือมากกว่านี้ในบางปีมีผลให้จำนวนคอนโดมิเนียมสะสมในกรุงเทพมหานครมากกว่า 650,000 ยูนิตไปแล้วและมีไม่น้อยกว่า 5% ในจำนวนนี้ที่ต้องการปล่อยเช่า
นั่นหมายความว่าจำนวนคอนโดมิเนียมที่มีคนซื้อไว้เพื่อต้องการปล่อยเช่ารายเดือนนั้นมีไม่น้อยกว่า33,000 ยูนิต แม้ว่าจริงๆ แล้วจะไม่สามารถคาดการณ์จำนวนที่แท้จริงได้ก็ตามจำนวนที่แท้จริงอาจจะมากกว่านี้ก็เป็นไปได้แต่ด้วยจำนวนคอนโดเพื่อเช่ามากมายขนาดนี้ ประกอบกับมีที่อยู่อาศัยรูปแบบอื่นๆที่ให้เช่าระยะยาวเป็นทางเลือกอีกการลดน้อยลงของชาวต่างชาติในกรุงเทพมหานครจึงส่งผลกระทบต่อตลาดคอนโดมิเนียมเช่าแน่นอน



โดยที่เห็นได้ชัดมากๆ คือ เรื่องของค่าเช่าที่มีนักลงทุนหลายรายเลือกที่จะลดค่าเช่าของตนเองลง โดยเฉพาะกลุ่มของนักลงทุนที่เพิ่งเข้าสู่ตลาดคอนโดมิเนียมเพราะนักลงทุนกลุ่มนี้อาจจะจำเป็นต้องการรายได้จากคาเช่าคอนโดเพื่อนำมาเป็นค่าผ่อนชำระสินเชื่อธนาคาร ดังนั้น ได้ค่าเช่าลดน้อยลงก็ยังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย ประกอบกับช่วง 1 ปีกว่าๆผ่านมา ความต้องการเช่าคอนโดมิเนียมลดน้อยลงไปแบบชัดเจน เพราะชาวต่างชาติที่ทำงานในกรุงเทพฯลดจำนวนลงไปชัดเจน ซึ่งจากสถิติของสำนักบริหารแรงงานต่างด้าวพบว่าชาติต่างชาติที่ได้ใบอนุญาตทำงานและไม่ใช่ชาวเมียนมาลาว และกัมพูชารวมไปถึงชนกลุ่มน้อยต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร ณ เดือนมิถุนายนปี 64 ลดน้อยลงไปประมาณ 14,000 คน

เมื่อเทียบกับช่วงปลายปี 62 การขาดหายไปของชาวต่างชาติยังคงมีจากกลุ่มที่เข้ามาทำงานแบบชั่วคราวหรือเข้ามาดูงานและไม่ได้ขอใบอนุญาตทำงานแล้วพักในที่พักที่บริษัทหรือองค์กรเช่าระยะยาวไว้ก็ยังมีอีกจำนวนไม่น้อย รวมไปถึงชาวต่างชาติที่เข้ามาในรูปแบบของนักท่องเที่ยวแต่เลือกที่จะเช่าคอนโดมิเนียมพักอาศัยเพราะอาจจะอยู่กันเป็นเดือนเพราะนอกจาก จะท่องเที่ยวแล้วอาจจะมีการมองหาช่องทางการทำธุรกิจในประเทศไทยด้วยเมื่อรวมๆ แล้วชาวต่างที่หายไปจากกรุงเทพและเป็นกลุ่มเป้าหมายของตลาดคอนโดมิเนียมเช่านั้นหลายหมื่นคนทีเดียว

นอกจากนี้การที่คนไทยส่วนหนึ่งทำงานที่บ้านไม่ต้องเข้าสำนักงานหรือจำนวนวันที่เข้าสำนักงานลดน้อยลงประกอบกับบุตรหลานไม่ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนหรือสถานศึกษาตามปกติก็อาจจะมีผลให้คนไทยกลุ่มนี้บางส่วนที่เช่าคอนโดมิเนียมอยู่
เพราะบ้านของพวกเขาอาจจะอยู่ชานเมืองหรือไกลจากที่ทำงานรวมไปถึงสถานศึกษาของบุตรหลานก็อาจจะขอยกเลิกการเช่าคอนโดมิเนียมไปเช่นกัน



ผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งจากปัจจัยต่าง ๆ นั้นเห็นได้ชัดเจนจากการขาดแคลนกลุ่มลุกค้า ซึ่งแน่นอนว่ามีผลต่อค่าเช่าแน่นอน
เพราะนักลงทุนบางส่วนเลือกที่จะลดคาเช่าลง ประกอบกับผู้เช่าที่ยังคงต้องการหาคอนโดมิเนียมเช่าในกรุงเทพมหานครเองก็พยายามหาคอนโดมิเนียมที่มีค่าเช่ารายเดือนที่ต่ำลงเพราะพวกเขาอาจจะมีเงินสนับสนุนจากบริษัทหรือองค์กรลดลงประกอบ กับเริ่มเห็นสัญญาณการลดค่าเช่าจากกลุ่มของเจ้าของห้องพวกเขาจึงพยายามต่อรองลดค่าเช่าลงมาให้มากที่สุด และไม่รีบตัดสินใจ เนื่องจากตัวเลือกในตลาดมีมากมายอีกทั้งยังมีคนที่ต้องการผู้เช่าโดยไม่ยึดติดกับค่าเช่าหรือผลตอบแทนที่เคยตั้งความคาดหวังไว้เรื่องของค่าเช่าที่ลดลงนั้นมีตั้งแต่ 10% หรือมากกว่า50% ในบางยูนิตขึ้นอยู่กับเจ้าของยูนิตนั้นๆ และแน่นอนว่าเมื่อค่าเช่าลดลงผลตอบแทนจากการเช่าที่เคยคาดหวังไว้ที่ 4 – 5% ต่อปีอาจจะลดเหลือเพียง2 – 3% ต่อปี และอาจจะเป็นการทำให้ผลตอบแทนจากการเช่าไม่กลับในระดับเดิมอีกก็เป็นไปได้เพราะผู้เช่า จำนวนไม่น้อยรับรู้ค่าเช่าในระดับนี้แล้ว การจะปรับค่าเช่าขึ้นในอนาคตก็อาจจะยากกว่าลดลงแบบตอนนี้นักลงทุน ที่มีต้นทุนสูงกว่าก็ได้รับผลกระทบแน่นอน เนื่องจากไม่สามารถได้รับผลตอบแทนได้ตามที่ตั้งใจ

ช่วงต้นปี 64 ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันอาจจะเริ่มเห็นสัญญาณของกลุ่มผู้เช่าที่เป็นชาวต่างชาติเริ่มเข้ามาในประเทศมากขึ้น แม้ว่าจะเป็นจำนวนไม่มาก แต่ก็เป็นสัญญาณที่ดีโดยกลุ่มของชาวต่างชาติที่เข้ามาก็ยังคงมองหาคอนโดในทำเลยอดนิยมเดิมๆที่มีการเดินทางสะดวกสบาย ปลอดภัย และมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบในพื้นที่ ดังนั้น
ทำเลตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าทั้งBTS และรถไฟใต้ดินจึงยังเป็นทำเลยอดนิยมต่อเนื่องโดยพื้นที่ตามแนวถนนสุขุมวิท รัชดาภิเษก พหลโยธินยังคงได้รับความสนใจเช่นเดิมแต่ถ้ามองในทำเลที่ไกลออกไปหรือไม่ได้จำเพาะเจาะลงเป็นทำเลหรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งทำเลรอบๆ มหาวิทยาลัยยังคงเป็นทำเลที่มีนักลงทุนให้ความสนใจต่อเนื่องมากที่สุด

โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยที่อยู่ในจังหวัดปริมณฑลรอบกรุงเทพมหานครเนื่องจากราคาคอนโดมิเนียมไม่สูงมาก อีกทั้งความต้องการในอนาคตยังสามารถคาดหวังได้อยู่แม้ว่าปัจจุบันจะมีการเรียนออนไลน์กันอยู่ก็ตาม แต่เมื่อสถานการณ์ต่างๆ
กลับมาดีขึ้น คอนโดมิเนียมเหล่านี้จะเป็นที่ต้องการนักลงทุนจำนวนไม่น้อยจึงเลือกที่จะซื้อและโอนกรรมสิทธิ์โครงการคอนโดมิเนียมในพื้นที่รอบๆมหาวิยาลัยกันต่อเนื่อง



ช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19มีนักลงทุนที่เป็นกลุ่มของนักลงทุนในระยะยาวหรือกลุ่มที่ซื้อคอนโดมิเนียมเพื่อต้องการปล่อยเช่าในระยะยาวเลือกซื้อคอนโดมิเนียมจากผู้ประกอบการที่ลดราคาขายโครงการที่สร้างเสร็จแล้วในช่วงกลางปี63ต่อ เนื่องถึงปัจจุบัน เพราะราคาขายลดลงมากกว่า 15% บางยูนิตในบางโครงการลดลงไปมากกว่า30% ซึ่งเหมาะที่จะซื้อมาลงทุนปล่อยเช่าและราคาที่ซื้อในปัจจุบันยังสามารถนำมาปล่อยเช่าในราคาที่ไม่แตกต่างจากคอนโดมิเนียมที่สร้างเสร็จก่อนหน้านี้กลุ่มของนักลงทุนที่มีเงินเก็บและไม่ได้ใช้เงินสินเชื่อธนาคารให้ความสนใจคอนโดมิเนียมที่ปล่อยขายแบบลดราคาแม้ว่าบางยูนิตอาจจะไม่ได้อยู่ในมุมหรือชั้นที่ดีแต่เพราะวัตถุประสงค์เพื่อการปล่อยเช่าจึงไม่ใช่ประเด็นสำคัญในการเลือกซื้อเพื่อการลงทุน

อนาคตของตลาดคอนโดมิเนียมเช่าในกรุงเทพมหานครและเมืองท่องเที่ยวต่างๆ ทั่วประเทศไทยคงยังไม่ได้กลับมาเป็นปกติในเร็ววันนี้แม้ว่าการเดินทางระหว่างประเทศเริ่มเปิดให้มีการเดินทางได้แล้วก็ตามแต่ยังคงต้องรอเวลาอีกไม่น้อยกว่า1–2ปีกว่า ที่สถานการณ์จะกลับมาเป็นปกติมีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้นแต่ต้องไม่ลืมว่าคอนโดมิเนียมที่เข้าสู่ตลาดในแต่ละปีก็มีมากขึ้นต่อเนื่องกลุ่มของนักลงทุนที่สนใจเข้ามาลงทุนในคอนโดมิเนียมก็เพิ่มขึ้นมาต่อเนื่องเช่นกัน ความคาดหวังของผลตอบแทนที่จะได้รับคงมีทิศทางที่ลดลงเมื่อเทียบกับก่อนหน้านี้ซึ่งก็ไม่ได้สูงเท่าใดนัก เมื่อเทียบกับก่อนหน้านี้ 5 - 6 ปี อาจจะยังหลงเหลือเพียงคอนโดมิเนียมที่อยู่รอบมหาวิทยาลัยเท่านั้นที่อาจจะยังสามารถคาดหวังผลตอบแทนที่มากว่าคอนโดมิเนียมในเมืองชั้นในได้

ธนา ต่อสหะกุล
ธนา ต่อสหะกุล

ด้านนายธนา ต่อสหะกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มดีพีซี จำกัด MDPC ExpertiseMeets Excellenceในเครือบริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งให้บริการอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร กล่าวว่าแม้ว่าต้นปี 64 จะมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19ระลอก2 และระลอก3 แต่ตลาดคอนโดมิเนียมเพื่อเช่ายังคงได้รับความสนใจและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสแรกปี64 ผู้บริโภคแสดงความสนใจห้องชุดให้เช่าเพิ่มขึ้น21% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนและในไตรมาส2/64 มีผู้บริโภคสนใจห้องชุดให้เช่าเพิ่มขึ้น42% จากไตรมาส2/63

จากตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมีความสนใจเช่าห้องชุดมากขึ้นรวมถึงปรับเปลี่ยนทำเลและพฤติกรรมในการพักอาศัย เช่น เดิมผู้เช่าสนใจห้อง1 ห้องนอน ขนาดไม่เกิน50 ตร.ม.ที่เน้นพื้นที่ภายในห้องนอนมากกว่าพื้นที่ห้องอเนกประสงค์แต่ปัจจุบันผู้เช่ามองหาห้องชุดแบบ2 ห้องนอน ขนาด43-60 ตร.ม. ที่เน้นประโยชน์จากการใช้ฟังก์ชั่นต่าง ๆ ได้อย่างคุ้มค่าพื้นที่ห้องอเนกประสงค์สามารถปรับเปลี่ยนเป็นสถานที่ทำงานระบบ Work FromHome หรือปรับเป็นพื้นที่ในการออกกำลังกายได้รวมทั้งต้องการพื้นที่ระเบียงขนาดใหญ่ เพื่อปลูต้นไม้ เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับห้องพัก

“สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการมองหาห้องชุดเพื่อเช่าผู้เช่าต้องการห้องชุดที่สามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นได้หลากหลายเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตแบบWork From Homeเนื่องจากต้องใช้ระยะเวลานานอยู่ในห้องพัก และต้องการเช่าในระยะที่ยาวขึ้น และหากคอนโดฯมีฟังก์อื่นที่น่าสนใจเพิ่มเติม เช่น สามารถเลี้ยงสัตว์ได้ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการปล่อยเช่าได้มากยิ่งขึ้น”

แม้พฤติกรรมการหาห้องชุดเพื่อเช่าจะเปลี่ยนไปแต่ผู้เช่ายังให้ความสำคัญกับเรื่องของ ทำเล โดยยังคงมองหาห้องชุดในทำเลกลางใจเมืองมีระบบการเดินทางที่สะดวกสบาย และใกล้กับสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับทำเลที่ผู้เช่าให้ความสนใจและมีอัตราการเช่าเติบโตอย่างต่อเนื่องคือทำสุขุมวิทตอนกลางถึงตอนปลาย ลาดพร้าว-พหลโยธิน



ขณะที่ ทำเลย่านสุขุมวิทตอนกลาง เริ่มตั้งแต่แยกอโศกไปจนถึงสถานีรถไฟฟ้าพระโขนง พบว่า มีความหลากหลายของการใช้ชีวิตมากที่สุด โดยเฉพาะ “ทองหล่อ-เอกมัย” เพราะเป็นทำเลที่มีปัจจัยหนุนเอื้อต่อการเติบโตในอนาคตอย่างมากมายและยังเป็นทำเลยอดนิยมของชาวต่างชาติ และในอนาคตพื้นที่นี้จะมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาจุดเชื่อมต่อที่บริเวณBTS สถานีทองหล่อ (วัชรพล - ทองหล่อ)และอีกจุดที่BTS สถานีพระโขนง (พระโขนง - ท่าพระ) มาเสริมศักยภาพพื้นที่ส่งผลให้ปัจจุบันอัตราการเช่าในพื้นที่ดังกล่าวสูงถึง40 % โดยส่วนใหญ่เป็นผู้เช่าชาวต่างชาติคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง70% และมีอัตราค่าเช่าห้องชุดขนาดประมาณ40-60 ตร.ม. เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 35,000 บาทต่อเดือนส่งผลให้กลุ่มนักลงทุนเข้ามาลงทุนเพื่อปล่อยเช่าจำนวนมาก โดยมีอัตราRentalield เฉลี่ย อยู่ที่4-6% (ข้อมูลปี64) ซึ่งสูงที่สุดเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น ๆ ในทำเลสุขุมวิท

ในส่วนของพื้นที่สุขุมวิทตอนปลายที่เริ่มจากสถานีรถไฟฟ้าพระโขนงไปจนถึงสถานีแบริ่งนั้น เป็นทำเลที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มคนวัยทำงานหรือFirst Jobber อย่างมากโดยมีสัดส่วนการเช่าสูงถึง 50% จากกลุ่มผู้เช่าทั้งหมด เนื่องจากราคาปล่อยเช่าคอนโดมิเนียมยังไม่สูงมากห้องชุดขนาด40-60 ตร.ม. จะมีอัตราค่าเช่าเฉลี่ย24,000 บาทต่อเดือน

ส่วนทำเลลาดพร้าว – พหลโยธิน เป็นอีกหนึ่งทำเลที่มีอัตราการเติบโตของตลาดเช่าค่อนข้างดีเนื่องจากการขยายตัวของรถไฟฟ้าสายใหม่อย่างสายสีเขียวส่วนต่อขยาย (หมอชิต –สะพานใหม่ – คูคต) ส่งผลให้มีประชากรในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งพื้นที่อาคารสำนักงานห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ สถานศึกษา ก็มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สถานีกลางบางซื่อศูนย์กลางการคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯก็เป็นอีกปัจจัยหนุนสำคัญที่จะทำให้ตลาดเช่ามีอัตราการเติบโตในอนาคต โดยปัจจุบันค่าเช่าเฉลี่ยอยู่ที่18,000 บาทต่อเดือนโดยกลุ่มผู้เช่าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มวัยทำงาน นักศึกษา โดยมีอัตราผลตอบแทนในการลงทุนปล่อยเช่าเฉลี่ย5%

จากสัญญาณการขยายตัวของดีมานด์ในตลาดเช่าขณะนี้คาดว่าจะส่งฝผลต่อการระบายออกของห้องชุดในตลาดที่ดีขึ้น จากการซื้อเพื่อลงทุนเนื่องจากกลุ่มนักลงทุนได้รับปัจจัยกระตุ้นจากการที่สถาบันการเงินที่ประกาศลดวงเงินประกันเงินฝากลงมาอยู่ที่1 ล้านบาท ซึ่งอาจมีผลส่งผลต่อการตัดสินใจนำเงินฝากออกมาซื้อห้องชุดคอนโดเพื่อลงทุนระยะยาวมากชึ้นเพราะปัจจุบันดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ราคาขายอสังหาฯในขณะนี้ต่ำกว่าปกติ30-40%ถือเป็นช่วงนาทีทองของผู้ซื้อลงทุนมากที่สุด