'GPSC' ทุ่ม1.6 หมื่นล้าน ลุยลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานลมไต้หวัน กำลังการผลิต 595 เมกะวัตต์ 

Jenny937

  • *****
  • 1932
    • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     

นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกล. เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แจ้งว่าบริษัทย่อย บริษัท โกล. รีนิวเอเบิล ซินเนอร์ยี่ จำกัด (GRSC) ได้ลงนามสัญญาร่วมทุนกับบริษัท Copenhagen Infrastructure Partners (CIP) เพื่อเข้าลงทุนในสัดส่วน 25% คิดเป็นมูลค่าลงทุน 500 ล้านดอลลาร์ ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่งในไต้หวัน จากกองทุน Copenhagen Infrastructure II K/S (CI-II) และ Copenhagen Infrastructure III K/S (CI-III) ซึ่งเป็นกองทุนภายใต้การบริหารของ CIP 

โครงการดังกล่าวมีกำลังผลิตรวม 595 เมกะวัตต์ ด้วยสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 20 ปี กับ บริษัท Taiwan Power Company ซึ่งการเข้าลงทุนในครั้งนี้เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนให้กับ GPSC อีก 149 เมกะวัตต์ตามสัดส่วนการถือหุ้น 25% ส่งผลให้บริษัทมีกำลังผลิตพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นเป็น 2,294 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นสัดส่วน 34% ของกำลังการผลิตทั้งหมด 6,761 เมกะวัตต์ 

ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์การขับเคลื่อนธุรกิจ และกระจายแหล่งผลิตพลังงานทางเลือกให้มีความหลากหลาย ยังเป็นการเพิ่มประสบการณ์การพัฒนาโครงการพลังงานลมนอกชายฝั่งในต่างประเทศ ที่สร้างโอกาสและขยายลงทุนตามกลยุทธ์การเติบโตด้านพลังงานทดแทนในกลุ่มตลาดเป้าหมายต่อไป

โดยแผนพัฒนาโครงการพลังงานลมนอกชายฝั่งดังกล่าว กำหนดแผนการติดตั้งแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 คาดว่าจะสามารถจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในปี 2565 จำนวน 96 เมกะวัตต์ และระยะที่ 2 คาดจะจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในปี 2566 จำนวน 499 เมกะวัตต์ นับเป็นโครงการขนาดใหญ่สามารถจ่ายไฟฟ้าครอบคลุมได้มากกว่า 600,000 ครัวเรือน โดยทั้งโครงการจะดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567

ทั้งนี้ GPSC มองว่าไต้หวันถือเป็นหนึ่งพื้นที่ที่มีศักยภาพ และมีความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาดชั้นนำของโลก และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล สะท้อนผ่านอัตราการใช้พลังงานทางเลือกที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม การลงทุนดังกล่าว จะต้องดำเนินการยื่นขออนุมัติการลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Investment Approval) และขออนุมัติจาก Ministry of Economic Affairs ของไต้หวันต่อไป โดยหลังจากการซื้อขายหุ้น CI-II และ C-III ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และเป็นผู้ดำเนินการหลักของโครงการ CFXD