ThaiBMA ชี้เอกชนชิงออก’หุ้นกู้’ โค้งท้ายปี ดันยอดปีนี้แตะ1ล้านล้าน

kaidee20

  • *****
  • 3159
    • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
"ไทยบีเอ็มเอ" คาดเอกเชนออกหุ้นกู้ไตรมาส4/64 มูลค่า 2.18 แสนล้าน หวั่นเฟดขึ้นดอกเบี้ย ดันต้นทุนขายปีหน้าเพิ่มขึ้น หนุนทั้งปีทะลุ 1 ล้านล้าน จากปัจจุบันมียอดออกแล้ว 8.4 แสนล้าน

นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า  คาดบริษัทเอกชนออกหุ้นกู้ไตรมาส 4ปี 2564 ประมาณ  218,930 ล้านบาท แบ่งเป็น หุ้นกู้ออกใหม่ จำนวน  111,930ล้านบาท และอีกราว 107,000 ล้านบาท เป็นการออกเพื่อทดแทนหุ้นกู้เดิมที่ครบกำหนด   เนื่องจากภาคเอกชนที่เป็นผู้ออกหุ้นกู้ คาดว่าหากเฟดเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยจะทำให้ต้นทุนการออกหุ้นกู้สูงขึ้นในปีหน้า ดังนั้นจึงใช้จังหวะช่วงที่เหลือปีนี้ออกหุ้นกู้อย่างต่อเนื่อง  

ดังนั้นคาดว่าการออกหุ้นกู้ของภาคเอกเชน มีโอกาสแตะ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งมากกว่าเป้าที่ตั้งไว้900,000 ล้านบาท ถือว่ากลับมาเพิ่มขึ้นในระดับเดียวกับเมื่อปี 2562 ก่อนเกิดโควิด-19ที่ทำสถิตินิวไฮทะลุ 1 ล้านล้านบาท

"แม้บอนด์ยิลด์ในตลาดตราสารหนี้ไทยจะมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางในตลาดโลก แต่ส่วนชดเชยความเสี่ยง (Credit spread) ของหุ้นกู้ที่ปรับลดลง ประกอบกับสภาพคล่องในระบบ ทำให้ต้นทุนของผู้ออกตราสารหนี้ภาคเอกชนไม่ได้เพิ่มขึ้นจากช่วงต้นปี ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการออกหุ้นกู้ ดังนั้น การออกหุ้นกู้ระยะยาวของปีนี้จะไม่ต่ำกว่าเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้" 



นางสาวอริยา กล่าวว่า  ในช่วง9 เดือนแรกปีนี้ มียอดการออกหุ้นกู้รวมทั้งสิ้น 817,556 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54%จากช่วงเดียวกันปีก่อน และปัจจุบันขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 840,000 ล้านบาท   โดยกลุ่มธุรกิจที่เสนอขายสูงสุด 5 กลุ่มแรกยังมีสัดส่วนคงเดิม  ได้แก่ พลังงาน  (Energy) 20.6%, อสังหาฯ (PROP) 15.1%, การเงิน (FIN ) 13.6%, คอมเมิร์ซ (Commerce) 12.8% และอาหาร ( FOOD) 11.8%

ส่วนทางด้านความเสี่ยงหุ้นกู้ไฮยิลด์ผิดนัดชำระหนี้  น่าจะมีแนวโน้มเชิงบวกมากกว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด -19 คลี่คลายและเปิดประเทศได้  โดยในปีนี้พบว่า มีจำนวนบริษัทเพิ่มขึ้น แต่มูลค่าน้อยลงกว่าปีก่อน  ปัจจุบันอยู่ที่ 14,000 ล้านบาท ไม่รวมการบินไทย แบ่งเป็นบริษัทใหม่ที่ขอยืดชำระหนี้ รุ่นใหม่ จำนวน 4 บริษัท มูลค่า 3,800 ล้านบาท  ส่วนบริษัทเดิมในปีก่อนที่ยืดชำระหนี้ รุ่นใหม่ มีจำนวน  7  บริษัท มูลค่า่ 9,300 ล้านบาท  

นอกจากนี้หุ้นกู้กลุ่มไฮยิลด์ ที่ออกในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ เป็นหุ้นกู้มีประกันในสัดส่วนที่สูงขึ้นกว่า 80% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการค้ำประกันโดยนิิติบุคคล และหุ้นกู้กลุ่มอสังหาฯ ยังไม่มีีความน่ากังวลต่อความเสี่ยงเอเวอร์แกรนด์ เพราะกลุ่มอสังหาฯ มีสัดส่วนหุ้นกู้คงค้างราว 11%หรือคิดเป็นมูลค่าราว 440,077 ล้านบาท จากมูลค่าหุ้นกู้คงค้างในระบบราว 4.2 ล้านล้านบาท

ด้านกระแสเงินลงทุนจากต่างประเทศ (ฟันด์โฟลว์) ในปีนี้คาดว่า ยังเป็นแรงซื้อสะสมสุทธิในตลาดตราสารหนี้ไทยหากในช่วงที่เหลือของปีนี้ เฟดไม่มีประเด็นเซอร์ไพรส์ตลาด


นายภูดินันท์ เศรษฐนันท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ พัฒนาผลิตภัณฑ์การเงิน ธุรกิจผลิตภัณฑ์การเงิน และผู้บริหารการขายลูกค้าบุคคลธนกิจ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย (CIMBT)กล่าวว่า ปีนี้ธนาคารคาดเป็นตัวแทนจำหน่ายหุ้นกู้ 1.8 หมื่นล้านบาท จากปีก่อนที่ 1.1 หมื่นล้านบาทและปีหน้าคาดการณ์โตต่อเนื่องอีก 30%

ทั้งนี้จากภาวะดอกเบี้ยต่ำ ที่คาดว่าอัตราดอกเบี้ยน่าจะต่ำไปอีกสักระยะ ส่งผลให้การฝากเงินได้รับอัตราดอกเบี้ยต่ำเพียง 0.25-0.50% เท่านั้น  ซึ่งธนาคารมองเห็นโอกาสในการช่วยให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น โดยเฉพาะ การสนับสนุนนักลงทุนให้เข้าไปลงทุนผ่านตลาดรองตราสารหนี้ ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยหากดูผลตอบแทนเฉลี่ย 5 ปี ของหุ้นกู้ระดับ AAA พบว่าให้ผลตอบแทนสูงถึง 2.5% ขณะที่หากเป็นระดับ BBB ให้ผลตอบแทนสูง3-4%ซึ่งในวันที่ 10ต.ค.นี้ ซีไอเอ็มบีไทย เตรียมออกขายหุ้นกู้ผ่านซีไอเอ็มบีด้วย ซึ่งคาดว่าจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 2-3%

“เรามองว่าตลาดหุ้นกู้น่าจะโตได้อีกมาก ในต่างประเทศตลาดหุ้นกู้โตกว่าเงินกู้ธนาคาร 2-3เท่า แต่ไทยตลาดหุ้นกู้อยู่ที่ 14ล้านล้านบาท ขณะที่เงินกู้แบงก์อยู่ที่16ล้านล้านบาท ดังนั้นเรามองว่าในระยะข้างหน้าตลาดหุ้นกู้มีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ”