UPS ถอดบทเรียน “ไทม์เลส เทรนด์ส” แนะธุรกิจปรับตัว

Jenny937

  • *****
  • 1932
    • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
แม้อีคอมเมิร์ซจะเพิ่มโอกาสให้กับผู้ประกอบการแต่กระบวนการและขั้นตอนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งล้วนเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่คุ้นเคยมาก่อนจึงมักสร้างปัญหา เช่น การใช้เวลามากเกินไปสำหรับการบริหารจัดการยอดสั่งซื้อออนไลน์ และการเตรียมเอกสารต่าง ๆ เป็นต้น

วันที่ 5 ตุลาคม 2564 นายรัสเซล รี้ด กรรมการผู้จัดการ ยูพีเอส ประเทศไทย ผู้ให้บริการจัดส่งพัสดุระดับโลก กล่าวว่าปัญหาของธุรกิจอีคอมเมิร์ซขนาดเล็กสามารถจัดการได้ด้วยโซลูชั่นจากบริการ UPS Marketplace Shipping ที่จะช่วยจัดการยอดสั่งซื้อโดยอัตโนมัติจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซหลากหลายแห่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งยังช่วยเรื่องการพิมพ์ฉลากการจัดส่ง แบบฟอร์มศุลกากร และแจ้งเตือนลูกค้าเมื่อคำสั่งซื้อได้ส่งออกแล้ว

ดังเช่น กรณี “ไทม์เลส เทรนด์ส” ผู้ผลิตชุดเสื้อผ้าแบบคอร์เซ็ท ที่มีลูกค้าอยู่ทั่วโลก เป็นหนึ่งในบริษัทที่ใช้บริการ UPS Marketplace Shipping



นายจิม ค็อกซ์ ผู้ก่อตั้งไทม์เลส เทรนด์ส (Timeless Trends) กล่าวว่า “ถ้าคุณไปเที่ยวงานย้อนยุคเรเนสซองส์ หรืองานที่ผู้คนแต่งคอสเพลย์ตามแบบอนิเมะ คุณจะเห็นผู้คนเป็นร้อยใส่คอร์เซ็ทกัน และคอร์เซ็ทเหล่านั้น 80-90% มาจากฝีมือการตัดเย็บของเรา”


“UPS Marketplace Shipping ช่วยให้เราลดเวลาในการเตรียมการจัดส่งไปได้ถึง 75% ขั้นตอนการส่งของที่เคยเป็นปัญหายุ่งยาก กลายเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพขึ้น ทำให้ผมมีเวลามากขึ้น และสามารถอุทิศเวลาเพื่อทำสิ่งที่รัก ในการผลักดันขอบเขตความสร้างสรรค์ด้านแฟชั่น และการสร้างคอร์เซ็ทคุณภาพระดับพรีเมียม ซึ่งจะทำให้ลูกค้ามีความสุขกับคอร์เซ็ทของเราตลอดการใช้งาน”

อย่างไรก็ตาม การจัดส่งที่รวดเร็ว และเชื่อถือได้ที่กับลูกค้าทั่วโลกเป็นกุญแจสำคัญในการยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น ผนวกกับการนำ “โซลูชั่นดิจิทัล” มาใช้จึงถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ช่วยให้บริษัทเชื่อมโยงโครงข่ายของห่วงโซ่อุปทานให้แข็งแกร่งเท่าที่จะทำได้ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องมุ่งเน้นยิ่งกว่าเดิมตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา เพราะแม้แต่บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกหลายแห่งก็ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ทันตั้งรับจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

คุณสมบัติของห่วงโซ่อุปทานที่หลากหลาย และแข็งแกร่ง หมายรวมถึงการมีแผนสำรองต่าง ๆ เพื่อรักษาประสิทธิภาพการผลิตให้ดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่ผู้ผลิตวัตถุดิบหลักเกิดหยุดชะงัก

นอกจากนี้เจ้าของธุรกิจยังสามารถหาวิธีที่เหมาะสมในการนำข้อตกลงการค้าเสรีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การหาแหล่งที่มาของวัตถุดิบ แหล่งผลิต และการเข้าหาลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยเข้าถึง


ผู้บริหาร ยูพีเอส ประเทศไทย กล่าวว่า ยูพีเอสเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงจากการช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจทุกขนาด ช่วยกระจายความเสี่ยง และจัดทำแผนห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้ธุรกิจได้เข้าถึงสภาวะตลาดการซื้อขายในยุคปัจจุบันอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด และเข้าใจว่าการบริหารจัดการเหล่านี้อาจสร้างความกังวลใจหรือความสับสนให้กับธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กที่มีเวลา และทรัพยากรจำกัด และตระหนักดีว่าสิ่งที่ใช้ได้ผลกับธุรกิจหนึ่งอาจจะใช้ไม่ได้ผลกับอีกธุรกิจ ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับทุกธุรกิจยุคนี้ มากกว่าที่เคยเป็นมา คือ “การมีแผนสำรอง”

นอกเหนือจากความเข้าใจ และการกระจายห่วงโซ่อุปทานแล้ว การบริการหลังการขายที่ธุรกิจนำเสนอก็มีความสำคัญเช่นกัน รวมไปถึงกระบวนการคืนสินค้าอาจทำให้ลูกค้าหงุดหงิด หากกระบวนการนี้ไม่มีประสิทธิภาพ

โดยงานวิจัยของยูพีเอส ในหัวข้อ “Pulse of the Online Shopper Study” พบว่า 69% ของนักช้อปในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเห็นพ้องกันว่าประสบการณ์การคืนสินค้าส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจ หากขั้นตอนการคืนสินค้าเป็นไปอย่างราบรื่นจะช่วยเสริมการสร้างฐานลูกค้าที่มีความจงรักภักดีต่อธุรกิจ

และการที่ธุรกิจจะเติบโตได้ ความเข้าใจลูกค้า และการมอบสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ด้วยวิธีและในเวลาที่พวกเขาต้องการเป็นสิ่งสำคัญมาก และเป็นไปได้ว่าวิกฤตการณ์การระบาดครั้งนี้ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อของผู้คนไปตลอดกาล นอกจากเป็นความท้าทายสำหรับธุรกิจขนาดเล็กแล้วยังเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจที่มีความคล่องตัว ยืดหยุ่น และปรับตัวตอบสนองรองรับต่อภูมิทัศน์การค้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา