เมื่อติดโควิด-19 จะรับ ATK- ยาฟรี @ ‘ร้านขายยา’ ได้อะไรบ้าง?

Fern751

  • *****
  • 2163
    • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     


แม้จะมีมาตรการ Home Isolation (HI) หรือ Community Isolation (CI)แนวทางในการแก้ปัญหาเตียงเต็มในโรงพยาบาล ให้ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียวแยกกันตัวที่บ้าน แยกกันตัวที่ชุมชน เนื่องด้วยไม่สามารถเข้าถึงยารักษาได้

ทั้งที่ทุกหน่วยงานทางการแพทย์ต่างยืนยันว่า หากผู้ป่วยโควิด-19 ได้รับ ‘ยารักษา’ เร็วที่สุดจะช่วยบรรเทาอาการไม่ให้จากผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว กลายเป็นผู้ป่วยอาการหนักกลุ่มสีเหลือง หรือสีแดง แต่ด้วยระบบการจัดส่งยา  โดยเฉพาะ ‘ยาฟาวิพิราเวียร์’ ยาหลักในการต้านโควิด-19 กว่าจะถึงมือผู้ป่วยโควิด บางทีก็สายไปเสียแล้ว

ใช้ไรเดอร์ จัดส่งยาถึงผู้ป่วยโควิด
จากปัญหาที่เกิดขึ้น ทาง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งเป็นหนึ่งใน 6 สังกัด ที่ทางกรมการแพทย์จะจัดส่งยาฟาวิพิราเวียร์ให้ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่ผู้ป่วยโควิด-19 ในกลุ่ม  HI และCI ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจ่ายยา เพื่อให้ถึงมือผู้ป่วยโดยเร็วที่สุด


นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)  กล่าวว่า สปสช ไม่ได้มีบทบาทในการกระจายยา แต่หน่วยบริการทั้งหมดต่างหากที่ต้องเป็นผู้จ่ายยาให้ผู้ป่วย แต่เนื่องจากหน่วยบริการหลายแห่ง ระบบการเบิกจ่ายไปถึงกรมการแพทย์ไปถึง สธ อาจจะยังไม่คล่องตัว หรือยังมีระบบราชการอยู่ สปสช. จึงช่วยประสานให้มันเกิดความคล่องแคล่วขึ้น เมื่อคล่องขึ้น สปสช. ก็จะส่งถ่ายหรือกระจายตรงนี้ไปยังหน่วยบริการ

สปสช.ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียว HI ยังมีผู้ติดเชื้อส่วนหนึ่งที่อยู่ระหว่างรอการลงทะเบียนกับหน่วยบริการ ทำให้ยังไม่ได้รับการดูแล หากมีการอาการขยับสู่กลุ่มอาการสีเหลืองและสีแดง และโทรมาที่สายด่วน สปสช. 1330 เมื่อเจ้าหน้าที่ประเมินอาการตามเกณฑ์และจะจัด ยาฟาวิพิราเวียร์ ให้กับผู้ติดเชื้อโดยเร็ว ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีส่งยาให้ผู้ติดเชื้อหลายรูปแบบ อาทิ ส่งพัสดุไปรษณีย์ ส่งยาผ่านหน่วยงานต่าง ๆ หรือมีผู้มารับยาเพื่อส่งต่อให้กับผู้ติดเชื้อ เป็นต้น


“บางครั้งการจัดส่งอาจเกิดความล่าช้าและไม่สะดวกกับผู้ติดเชื้อที่รอรับยา ล่าสุด สปสช. จึงได้รับความร่วมมือจากธนาคารออมสินจัดส่งไรเดอร์ (Rider) มาร่วมบริการส่งยาให้กับผู้ติดเชื้อโควิด 19 ตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค.ที่ผ่านมา ทำให้ผู้ติดเชื้อได้รับยารักษาโดยสะดวกและรวดเร็วขึ้น ช่วยยับยั้งภาวะรุนแรงของโรคและการเสียชีวิตได้” นพ.จเด็จ กล่าว

สมัครผ่อนของ 0% 40 เดือนกับ Citi คลิกเลย


สปสช.ซื้อ ‘ยาฟาวิพิราเวียร์’เพิ่ม 27 ล้านเม็ด
นอกจากนั้น ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา สปสช. ได้ช่วยกระจายยาฟาวิพิราเวียร์ไปแล้วหลายแสนเม็ด และตอนนี้มีผู้ป่วยโควิด-19 อีกจำนวนมากยังไม่ได้รับยา ซึ่งทางสธ. มีแผนจัดซื้อ ณ เดือน ก.ย. 2564 จำนวน 40 ล้านเม็ด ซึ่งคาดว่าอาจไม่เพียงพอกับปริมาณความต้องการใช้ยา

ในส่วนนี้ สปสช. จึงเสนอขอเตรียมงบประมาณเพื่อจัดซื้อไว้จำนวนไม่เกิน 27 ล้านเม็ด ในวงเงิน 891 ล้านบาท โดยจะเพิ่มรายการในแผนการจัดหา เพื่อให้เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์โรงพยาบาลราชวิถี จัดหาเพิ่มเติมอย่างเร่งด่วนในปี 2564 และต่อเนื่องไปปี 2565


ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาปัญหาหลักของ ‘ยารักษาโควิด-19’ ตอนนี้ ไม่ใช่เรื่องของการขาดแคลนเหมือนกับวัคซีน แต่เป็นเรื่องของการจัดส่งยาจากต้นทางไปถึงผู้ป่วยโควิด-19  มติบอร์ด สปสช. จึงได้มีแนวทางการให้ ‘ร้านขายยา’ เข้ามาเป็นจุดกระจายทั้งยา และชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ฟรี 8.5 ล้านชิ้นให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทั่วประเทศ ซึ่งทาง ‘สภาเภสัชกรรม’ ก็รับลูกเรื่องนี้ทันที

กระจาย ‘ATK’ ให้ร้านขายยาแจกจ่ายฟรี
ศ.ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ นายกสภาเภสัชกรรม และกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า ร้านขายยาที่จะเป็นจุดกระจายชุดตรวจ ATK นั้นจะต้องเป็นร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ขย1) ที่มีเภสัชกรประจำตลอดเวลาทำการ และต้องเปิดทำการอย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวันรวมไปถึงต้องขึ้นทะเบียนกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ด้วย  

ร้านขายยาประเภท ขย 1 ทั่วประเทศมีอยู่ประมาณหลักหมื่นร้าน โดยขณะนี้มี ร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการแล้วประมาณ 1,000 ร้าน และกำลังทยอยเข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งก็จะพยายามประชาสัมพันธ์ให้ร้านขายยาเข้ามาร่วมโครงการ


รศ.ภญ.จิราพร กล่าวต่อว่า สำหรับประชาชนที่จะได้รับชุดตรวจ ATK จะต้องเป็นประชาชนกลุ่มเสี่ยง เช่น ครอบครัวมีผู้ติดเชื้อ หรือเดินทางไปในที่ที่มีผู้ติดเชื้อ รวมไปถึงผู้ที่มีอาการคล้าย โรคโควิด-19 เช่น ไอ มีไข้ เป็นต้น ซึ่งเมื่อเป็นกลุ่มเสี่ยงเราไม่ได้อยากให้ออกมาเดินกับผู้อื่น เนื่องจากเมื่อเป็นกลุ่มเสี่ยงก็ควรจะต้องกักตัวเองอยู่ที่บ้าน ฉะนั้น สปสช. จึงมีระบบสำหรับกลุ่มเสี่ยงเพื่อขึ้นทะเบียนก่อน

เมื่อขึ้นทะเบียนเสร็จสิ้น สปสช. จะแจกจ่ายรายชื่อไปตามร้านยาใกล้บ้าน หรือตามความจำนงของผู้ที่ได้ลงทะเบียนไว้ โดยร้านขายยาจะติดต่อไปยังกลุ่มเสี่ยงเพื่อซักถามอาการ หรือข้อมูลเพื่อยืนยันว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงจริงผ่านทางโทรศัพท์ หรือไลน์แอพพลิเคชั่น จากนั้นจะดำเนินการส่ง ชุดตรวจ ATK ไปให้ที่บ้าน พร้อมคำแนะนำและอธิบายให้เข้าใจถึงวิธีการ ตรวจโควิด-19 ด้วยตนเอง


‘ร้านขายยา’ จ่ายยาให้ผู้ป่วยโควิด HI ได้
เช่นเดียวกับ การกระจายยา เพื่อให้เข้าถึงผู้ป่วยโดยเร็วที่สุด เมื่อวันที่ 20 ส.ค.2564 เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา แพร่ประกาศสภาเภสัชกรรม ที่ 56/2564 เรื่อง แนวทางการให้บริการยาฟาวิพิราเวียร์ และยาจำเป็นแก่ผู้ป่วยที่มีผลตรวจเป็นบวกด้วยชุดตรวจสำหรับโควิด-19 ประเภท Antigen Test Kits แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID-19 Antigen Self-Test Kits) หรือ ATK โดยกำหนดขั้นตอนเภสัชกรชุมชน ประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยโควิดหรือผู้สงสัยติดเชื้อเพื่อคัดกรองเบื้องต้นว่าควรได้รับการตรวจ และเป็นผู้จ่าย ATK

รวมถึงประกาศรายการยาสำหรับ Home Isolation ประกอบด้วยรายการยาจำเป็นสำหรับการรักษาตนเองตามอาการ และ ยาต้านโควิด-19 ตามแนวทางที่กรมการแพทย์กำหนด ดังนี้


1.ยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม สำหรับลดไข้ แก้ปวด จำนวน 30 เม็ด รับประทาน ครั้งละ 1 เม็ด ทุก 4 – 6 ชั่วโมง เวลามีไข้

2.ยาเด็กซ์โทรเมทอร์แฟน สำหรับแก้ไอแห้ง จำนวน 30 เม็ด รับประทาน ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารเช้า กลางวัน และเย็น

3.ยาอะเซทิลซีสทีน สำหรับละลายเสมหะ จำนวน 20 เม็ดหรือ 20 ซอง ละลายยา 1 เม็ด หรือ 1 ซอง ในน้ำ 1 แก้ว รับประทาน วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า หรือ เย็น

4.ยาคลอเฟนนิรามีน 4 มิลลิกรัม สำหรับลดน้ำมูก จานวน 30 เม็ด รับประทาน ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า

5.ผงเกลือแร่ ORS สำหรับท้องเสีย จำนวน 5 ซอง ละลายผงเกลือแร่ 1 ซองในน้ำ 1 แก้ว จิบแทนน้ำ เมื่อท้องเสีย น้ำเกลือแร่ไม่ควรเก็บเกิน 24 ชั่วโมง

6.ยาฟ้าทะลายโจร สำหรับลดไข้ แก้เจ็บคอและต้านเชื้อโควิด-19 จำนวน 60 เม็ด รับประทาน ครั้งละ 3 – 4 เม็ด วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน (โดยให้มีปริมาณของ Andrographolide 180 มิลลิกรัมต่อวัน)

7.ยาฟาวิพิราเวียร์ 200 มิลลิกรัม สำหรับต้านเชื้อโควิด-19 จำนวน 50 – 64 เม็ด โดยวันแรก รับประทาน ครั้งละ 9 เม็ด วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้าและเย็น วันที่ 2 – 5 รับประทาน ครั้งละ 4 เม็ด วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้าและเย็น ส่วนกรณีน้ำหนักตัว มากกว่า 90 กิโลกรัม วันแรก รับประทาน ครั้งละ 12 เม็ด วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้าและเย็น วันที่ 2 – 5 รับประทาน ครั้งละ 5 เม็ด วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้าและเย็น

8.รายการยาอื่น ๆ ตามแนวทางการรักษาโรคโควิด-19 ของกรมการแพทย์

กรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงขึ้นถึงขั้นที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้ เภสัชกรชุมชนจะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งต่อผู้ป่วยไปรักษายังสถานพยาบาลต่อไป

วิชาชีพเภสัชกรรม พร้อมให้บริการช่วยประเทศ
ทั้งนี้ ให้นายกสภาเภสัชกรรมเป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้ กรณีมีปัญหาในการตีความหรือในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้นายกสภาเภสัชกรรมเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ในกรณีที่นายกสภาเภสัชกรรมเห็นสมควรอาจเสนอให้คณะกรรมการสภาเภสัชกรรมเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด

“เราจะได้ใช้วิชาชีพเภสัชกรรมในการให้บริการ เพื่อช่วยประเทศในการแก้ปัญหาโรคระบาด เพราะเรามีความรู้เรื่องยาเราก็สามารถให้คำแนะนำการใช้ยา-ชุดตรวจที่ถูกต้อง เหมาะสม ทำให้ระบบเดินต่อไปได้ เพราะตรวจได้เร็วก็สามารถที่จะควบคุมการกระจายของโรคได้” รศ.ภญ.จิราพร กล่าว

 ทั้งนี้ ระหว่างรอชุดตรวจ ATK ที่ยังไม่มานั้น สปสช. พยายามที่จะประสานกับสภาเภสัชกรรม และ อย. เพื่อทำให้ระบบสามารถเดินได้ ในขณะนี้ทุกฝ่ายกำลังเตรียมตัว-บริหารจัดการ ส่วนตัวเชื่อว่าเมื่อมีชุดตรวจมาถึงร้านขายยารวมถึงระบบต่างๆ ก็จะพร้อมและจะสามารถแยกคนที่ติดเชื้อออกจากคนที่ไม่ติดเชื้อ ทำให้การแพร่เชื้อลดลง

ศ.ภญ.จิราพร กล่าวต่อไปว่า ระหว่างรอชุดตรวจ ก็มีการเตรียมงานหลังบ้านให้เรียบร้อย เมื่อไรที่ชุดตรวจมา ก็จะสามารถบริหารจัดการได้ด้วยระบบที่โปร่งใส ฉะนั้น ก็จะมีระบบการขึ้นทะเบียน และระบบการป้อนข้อมูลก็จะทำให้ทราบว่าชุดตรวจใช้ไปเท่าไร มองว่าต้องทำทุกอย่างให้โปร่งใสและไม่มีข้อกังขากับประชาชน

ย้ำปชช.ดูแลป้องกันตนเอง ถึงภาครัฐจะช่วย
ศ.ภญ. จิราพร กล่าวด้วยว่าขณะนี้เท่าที่ทราบ มีร้านขายยาลงทะเบียนกับทางสปสช.ไปมากกว่า 1,500 แห่ง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี และอยากให้ร้านยาเข้าร่วมมากกว่านี้ เพราะนั่นหมายถึงการกระจายชุดตรวจ ATK และยาสู่ผู้ป่วยโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็ว  ซึ่งเมื่อทางร้านยาขึ้นทะเบียน และทางสปสช.ได้ชุดตรวจมากระจายให้ร้ายยาที่ขึ้นทะเบียนเรียบร้อยก็สามารถดำเนินการแจกจ่ายไปยังผู้ป่วยได้ทันที ซึ่งเภสัชกรมีองค์ความรู้ และสามารถทำหน้าที่ตรงนี้ได้อย่างดีเยี่ยม

“ร้านขายยาอยู่ใกล้บ้านประชาชน สามารถเข้าถึงง่าย และตอนนี้สปสช. พยายามใช้แอปพลิเคชั่น อย่างเป๋าตัง เพื่อให้ประชาชนได้รับแจกทางช่องทางดังกล่าว ซึ่งชุดตรวจ ATK 8.5 ล้านชุดนี้ จะเป็นการแจกฟรีให้แก่ผู้ป่วยโควิด-19 ดังนั้น ไม่ต้องกังวลหากไปร้านขายยาที่เข้าร่วมขึ้นทะเบียน จะเห็นป้ายติดให้บริการชัดเจน เช่น ป้ายคลินิกชุมชนอบอุ่น หรือป้ายจากสปสช.”ศ.ภญ.จิราพร กล่าว


การที่สภาเภสัชกรรม ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ถึงแนวทางการให้บริการยาฟาวิพิราเวียร์ และยาจำเป็นแก่ผู้ป่วยที่มีผลตรวจเป็นบวกด้วยชุดตรวจสำหรับโควิด-19 ประเภท ATK นั้น เพื่อเป็นการประกาศให้ประชาชนรับทราย และเกิดความมั่นใจว่าผู้ป่วยทุกคนจะได้รับชุดตรวจ ATK และเข้าถึงยาได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงเป็นการป้องกันการแอบอ้าง หรือการนำชุดตรวจ ATKไปดำเนินการในแนวทางอื่นๆ ที่ไม่เหมาสมะ

“มาตรการให้ร้านขายยาเป็นจุดกระจายชุดตรวจ ATK และยาให้แก่ผู้ป่วยโควิด-19 เชื่อว่าจะช่วยลดปัญหาการเข้าไม่ถึงยาของประชาชนได้ และจะลดอัตราการเจ็บป่วย ดังนั้น อยากฝากประชาชน ถึงภาครัฐจะมีมาตรการออกมาช่วยเหลือ แต่ทุกคนป้องกันตนเอง สวมหน้ากากอนามัย ไม่ใกล้ชิดกัน หมั่นล้างมือบ่อยๆ และฉีดวัคซีน ถ้าสงสัยว่ากลุ่มเสี่ยงก็พยายามกักตัว อย่าออกไปข้างนอก ขอให้ใช้บริการของรัฐ”ศ.ภญ.จิราพร กล่าว

ต้องได้รับ‘ยาฟาวิพิราเวียร์’ ภายใน 4 วัน
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่าข้อมูลการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในประเทศไทย จากกรมการแพทย์ และคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆในกทม. รวมทั้งรพ.ในกทม. ได้รวบรวมข้อมูลเมื่อปี 2563 ที่ผ่านมาจากคนไข้กว่า 400 คน พบว่า ผู้ติดเชื้อที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์เร็วภายใน 4 วันหลังเริ่มมีอาการ พบว่า ลดอาการรุนแรงได้ 28.8% ขณะที่ค่ามัธยฐานของระยะเวลาการเริ่มให้ยา จนถึงผู้ป่วยอาการดีขึ้น หากผู้ป่วยโรคปอดบวมรุนแรงใช้เวลา 17 วันดีขึ้น แต่หากปอดบวมไม่รุนแรงใช้เวลา 9 วัน ซึ่งกรณีนี้ทางรามาธิบดีศึกษา


สำหรับ ยาฟาวิพิราเวียร์ ขณะนี้ทางองค์การเภสัชกรรมมีการสั่งจองและเตรียมผลิตเอง 20-30 ล้านเม็ด ซึ่งจะเริ่มมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งมีการติดตามศึกษาผล โดยจะทำเป็นบิ๊กดาต้า ที่ดูว่าผลของฟาวิพิราเวียร์ในรอบระบาดเดลตา เป็นอย่างไร ?

เมื่อพิจารณาการสั่งจอง และเตรียมการผลิต ‘ยาฟาวิพิราเวียร์’ ของประเทศไทย คงหวังได้ว่าการขาดแคลน ยาฟาวิพิราเวียร์ คงไม่มีทางการเกิดขึ้น แต่การจะจัดส่งยาให้ถึงแก่ผู้ป่วยโควิด-19 คงต้องติดตามกันต่อไปว่ามาตรการใหม่ๆ ที่กำลังดำเนินการนี้ จะช่วยได้มากน้อยขนาดไหน และหน่วยงานหลักในการส่งยาอย่าง กรมการแพทย์ โรงพยาบาลต่างๆ ต้องปรับระบบอย่างไร? เพื่อให้ยา เวชภัณฑ์ ระบบการบริการสาธารณสุขช่วยชีวิตผู้ป่วย ลดการสูญเสียได้