'ไทยออยล์' เพิ่มทุน-ขายหุ้น GPSC รุกธุรกิจโอเลฟินส์ อินโดนีเซีย

Jenny937

  • *****
  • 1932
    • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     



บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ประกาศเข้าร่วมลงทุน ในบริษัท PT Chandra Asri Petrochemical Tbk (“CAP”) ประเทศอินโดนีเซียผ่านบริษัทย่อยที่จัดตั้งขึ้นใหม่ PT TOP Investment Indonesia โดยเข้าถือหุ้น CAP ที่สัดส่วนร้อยละ 15.38 ใช้เงินลงทุนมูลค่ารวมไม่เกิน 1,183 ล้านดอลลารร์สหรัฐฯ หรือ 39,116ล้านบาท เพื่อก้าวเข้าสู่ธุรกิจโอเลฟินส์ โดย CAP มีแผนขยายกำลังการผลิตและก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีแห่งที่ 2( CAP2)ปัจจุบัน CAP เป็นผู้ผลิตปิโตรเคมีชั้นนำรายใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซียเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงงานแยกแนฟทา (Naphtha Cracker) เพียงแห่งเดียวของประเทศ มีกำลังการผลิตเอทิลีน (ethylene) ประมาณ 900,000 เมตริกตันต่อปี และพอลิโอเลฟินส์ (Polyolefins) ที่มีคุณภาพสูง อีกทั้งยังเป็นผู้ผลิตสไตรีนโมโนเมอร์ (SM) และบิวทาไดอีน (BD) และจะดำเนินการขยายกำลังการผลิตและก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีแห่งที่ 2(CAP2)​ ซึ่งจะทำให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกเท่าตัวหรือ2ล้านตันกำหนดแล้วเสร็จในปี2569

นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าการลงทุนในครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญของไทยออยล์ในการเดินหน้าสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์ จากเดิมที่มีธุรกิจสายอะโรเมติกส์อยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้โครงสร้างธุรกิจของไทยออยล์มีความสมบูรณ์ครอบคลุมธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมีอย่างครบวงจร และCAP2สามารถรองรับแนฟทาและแอลพีจีจากโครงการ CFP ของไทยออยล์ที่กำลังลงทุนราว 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ​ขยายกำลังกลั่นจาก2.75แสนเป็น4แสนบาร์เรล​ต่อวัน ยอมรับว่าผลกระทบจากโควิด-19 กระทบงานCFPทำให้สร้างได้ต่ำกว่าแผนแต่จะพยายามเร่งให้แล้วเสร็จ​ในปี 2566 ซึ่งจากการร่วมทุนกับอินโดนีเซียครั้งนี้ก็ทำให้ไทนออยล์​ไม่ต้องลงทุนสร้างโอเลฟินส์​เองแต่อย่างใดและคาดว่าจะเริ่มรับรู้รายได้เบื้องต้น 40-50 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี โดย CAP มีการประกาศผลกำไรครึ่งแรกปี64ที่ราว 165 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยการร่วมทุนเกิดประโยชน์หลายด้าน ทั้งการได้ร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัท CAP และบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด ถือเป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญระหว่างผู้ประกอบการในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือในการขยายธุรกิจต่อไปในอนาคต การร่วมลงทุนใน CAP ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตปิโตรเคมีชั้นนำทำไทยออยล์สามารถก้าวเข้าสู่ธุรกิจโอเลฟินส์ได้อย่างรวดเร็วและทำให้โครงสร้างธุรกิจมีความสมบูรณ์ ครอบคลุมธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมี

ทั้งนี้ไทยออยล์ได้ทำสัญญาเพื่อส่งผลิตภัณฑ์จากโรงกลั่นทั้งแนฟทาและแอลพีจี 1 ล้านตัน/ปีเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบให้กับ CAP และทำสัญญาเพื่อจำหน่ายพอลิเมอร์เรซิน (Polymer Resin) และผลิตภัณฑ์ในรูปของเหลวอื่นๆของ CAP อีกด้วย คาดว่ากระบวนการและการดำเนินการต่างๆในการเข้าร่วมลงทุนใน CAP จะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2564

สำหรับการจ่ายเงินแก่ CAP จะแบ่งเป็น 2 ครั้งได้แก่ รอบแรกในเดือนก.ย.64 วงเงิน 913 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ​วงเงินส่วนนี้จะมาจากการกู้เงินระยะสั้น 18 เดือนอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.4 ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นเงินกู้จากปตท.ที่เหลือมาจากสถาบันการเงิน ส่วนรอบที่ 2 จ่ายเงินกลางปี 2565 ประมาณ 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แผนการเงินเข้าลงทุนนั้น บมจ.ปตท.จะสนับสนุนทั้งเงินกู้ระยะสั้นและการเสริมสภาพคล่องโดยยืดระยะเวลาจ่ายหนี้น้ำมันจาก 30 วันเป็น 90 วันหรือเทียบเท่า 3 หมื่นล้านบาท.พร้อมทั้งไทยออยล์​จะขายหุ้นบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)หรือจีพีเอสซีประมาณร้อยละ 10.8 ให้ ปตท.เป็นวงเงินราว 20,000 ล้านบาทและไทยออยล์​จะเพิ่มทุนอีก 10,000 ล้านบาทกระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายในกลางปีหน้า​​โดยท้ายสุดแล้วไทยออยล์จะคงอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนในระดับที่เหมาะสมที่ 1 ต่อ 1 ได้​ และภาพรวมทั้งหมดก็ไม่ต้องขอเพิ่มวงเงินออกหุ้นกู้จากผู้ถือหุ้นอีกแต่อย่างใด