หนึ่งในโรคที่มักเกิดขึ้นกับบรรดาพนักงานออฟฟิศ หรือคนที่ต้องทำงานนั่งโต๊ะนาน ๆ นั่นคือ ออฟฟิศซินโดรม หากคิดกันทั่วไปอาจมองว่าไม่ได้ร้ายแรงอะไรมากนัก แต่ว่าเมื่อเจาะลึกลงไปดี ๆ โรคนี้มีผลต่อการใช้ชีวิตอย่างมากและคนทำงานออฟฟิศเองก็เป็นกันเยอะ มูลเหตุอย่างหนึ่งมาจากการนั่งทำงานแบบผิดท่า และการใช้
เก้าอี้สำนักงาน ไม่เหมาะสมกับตนเอง ถ้าปล่อยเอาไว้ก็มีโอกาสทำให้มีโรคอื่นเกิดขึ้นแทรกซ้อนได้ด้วย
โรคออฟฟิศซินโดรมคืออะไร มีอาการยังไง
ออฟฟิศซินโดรม คือ โรคที่มีความเกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อและผังผืดของร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเมื่อยเนื่องมาจากการนั่งทำงานผิดท่าเป็นระยะเวลานาน ๆ รวมถึงการนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ในท่าเดียวติดต่อกันหลายชั่วโมง ไม่ได้มีการเปลี่ยนหรือผ่อนคลายท่าทางของตนเอง รวมทั้งการทำงานที่มีความเครียดมาก ๆ แล้วต้องนั่งโต๊ะนานเกินไปก็เป็นอีกสาเหตุเช่นกัน
อาการของโรคออฟฟิศซินโดรม ผู้ป่วยมักรู้สึกปวดเมื่อยบริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบัก ขึ้นอยู่กับท่าทางที่มักใช้บ่อย ๆ แต่มักจะปวดแบบรวม ๆ ระบุจุดชัดเจนไม่ได้ บางรายอาจมีความผิดปกติในระบบประสาทกล้ามเนื้อร่วมด้วย อาทิเช่น รู้สึกวูบวาบ เหงื่อออก มีอาการร้าว เกิดเหน็บชา หรือถ้าร้ายแรงมาก ๆ โดยไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง หรือไม่รักษาก็จะรู้สึกถึงอาการมือ-แขนชา ไปถึงขั้นกระดูกทับเส้นประสาท หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้เลย
การใช้ เก้าอี้สำนักงาน ให้พอเหมาะ คืออีกวิธีปรับพฤติกรรม
อย่างที่กล่าวไปว่าสาเหตุหลัก ๆ ของโรคนี้มาจากการนั่งทำงานหรือนั่งหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ขณะที่เรื่องของการเลือกเก้าอี้ที่ใช้นั่งก็เป็นอีกปัจจัยที่มักก่อให้เกิดโรคภัยได้ ดังเช่น ระดับความสูงระหว่างโต๊ะกับ
เก้าอี้ทำงาน ที่ใช้คนละระดับ ส่งผลให้ต้องยกมือสูงกว่าปกติเวลาใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ดังนั้นปัจจัยแรกที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้คือ ควรมีการเลือกเก้าอี้ที่เหมาะกับตนเองไม่ว่าจะเป็นระดับความสูง, ลักษณะพนักพิงที่สามารถเอนหลังได้แบบเต็มตัว, ความกว้างที่เพียงพอกับการขยับตัวเล็ก ๆ น้อย ๆ ระหว่างทำงาน
ในปัจจุบันบรรดา
เก้าอี้คอมพิวเตอร์ เองก็มีการออกแบบให้พอเหมาะกับสรีระมากขึ้น สำหรับคนที่ต้องใช้คอมนาน ๆ ซึ่งอาจเป็นการเล่นเกมหรือดูซีรีส์ ดูกีฬา ฯลฯ ดังนั้นไม่ว่าจะอยู่ในออฟฟิศ หรือที่บ้านก็ควรเลือกเก้าอี้ที่ใช้ให้เหมาะสม
ไม่มีใครต้องการให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บกับตนเองแม้มองว่าเป็นโรคเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ก็อาจส่งผลเสียในอนาคตแบบระยะยาวได้ โรคออฟฟิศซินโดรมเองก็เช่นกัน นอกจากการปรับพฤติกรรมใหม่ในการทำงานแล้ว อย่าลืมมองหา
เก้าอี้สำนักงาน ที่เหมาะสมกับตนเองเอาไว้ใช้ด้วย
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Website :
https://www.homepro.co.th/c/FUR1004