“สินิตย์” สั่งการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทยเร่งพัฒนางานศิลปหัตถกรรมไทย

Chanapot

  • *****
  • 1900
    • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     


“สินิตย์” มอบนโยบายสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทยใช้กลยุทธ์ “ตลาดนำการผลิต” เร่งสนับสนุนและพัฒนางานศิลปหัตถกรรมไทยให้ตรงตามความต้องการของตลาด ติวเข้มผู้ประกอบการให้มีความรู้การทำธุรกิจ การพัฒนาสินค้า การขาย และเร่งปั้นแพลตฟอร์มกลางงานคราฟต์เป็นช่องทางขายออนไลน์ให้ผู้ประกอบการ

นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการเปิดตัวสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ SACIT ว่า ได้สั่งการให้สถาบันฯ เดินหน้าส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมไทยในทุกมิติ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ และสามารถทำตลาดได้เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ โดยใช้ “ตลาดนำการผลิต” ที่จะต้องผลิตสินค้าให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า โดยใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยที่มีรูปแบบที่ร่วมสมัย สามารถใช้งานในชีวิตประจำวัน และยังคงคุณค่าอัตลักษณ์และมรดกทางวัฒนธรรมไทยไว้

“SACIT ต้องเข้าไปช่วยพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้ตรงใจตลาด มีราคาที่เหมาะสม และต้องสร้างให้สินค้ามีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในคุณภาพ ส่วนที่เหลือกระทรวงพาณิชย์จะเข้ามาดูแลรับไม้ต่อในการหาตลาด ขยายช่องทางการค้าสู่ช่องทางใหม่ๆ ทั้งผ่านพาณิชย์จังหวัด ที่จะช่วยทำตลาดในประเทศ และทูตพาณิชย์ ที่จะช่วยทำตลาดต่างประเทศ” นายสินิตย์กล่าว

สำหรับสินค้าที่มีโอกาสในการขยายตลาดส่งออก เช่น เครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ และของใช้ของตกแต่งบ้าน โดยทูตพาณิชย์จะเป็นกลไกสำคัญในการช่วยเหลือสนับสนุน สรรหาความร่วมมือกับเครือข่ายภายนอกประเทศ และเป็นพี่เลี้ยงในเรื่องการส่งออก การเจรจาธุรกิจและอื่นๆ เพื่อขยายตลาดงานศิลปหัตถกรรมให้แพร่หลายและตรงกับรสนิยมการบริโภคในแต่ละภูมิภาคของโลก โดยมีตลาดที่มีโอกาส เช่น สหรัฐฯ และยุโรป ที่มีความต้องการสินค้าประเภทศิลปหัตถกรรมที่มีเอกลักษณ์และสามารถใช้งานในชีวิตประจำวัน

นอกจากนี้ SACIT จะต้องเข้าไปช่วยพัฒนาผู้ประกอบการ และช่วยเพิ่มพูนความรู้ โดยเข้าไปช่วยอบรมด้านการพัฒนาสินค้า คุณภาพสินค้า การบริหารธุรกิจ บัญชี การนำระบบออนไลน์มาใช้เพิ่มช่องทางขาย การผลักดันให้จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้า และให้เร่งพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าสำหรับงานศิลปหัตถกรรม เป็นการเชื่อมต่องานศิลปหัตถกรรมไทยสู่ตลาดโลก ผ่านแพลตฟอร์มไทยคราฟต์ออนไลน์ (Thai Crafts Online) เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายออนไลน์ รวมทั้งให้ร่วมกับแพลตฟอร์มออนไลน์อื่นๆ หรือการจัดงานแสดงสินค้าแบบออนไลน์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายเพิ่มขึ้น