สิ่งต้องพร้อม! เปิดกิจการภาคหอการค้าเดือน ต.ค.

Cindy700

  • *****
  • 1849
    • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     

เมื่อเวลา 15.15 น. วันที 20 ก.ย.2564 ที่กรมอนามัย นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมช.สธ.) ให้สัมภาษณ์ในการหารือเรื่อง “เปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างไรให้ลอดภัย”ร่วมกับคณะกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นำโดยนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยว่า เป็นการหารือซักซ้อมความเข้าใจในมาตรการต่างๆของประเภทกิจการที่อยู่ภายใต้การดูแลของหอการค้าซึ่งมีอยู่หลายประเภท เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดกิจการต่างๆอย่างปลอดภัยในการควบคุมโรค

 โดยแบ่ง 3 ส่วนใหญ่คือ 1.สิ่งแวดล้อม 2.ผู้ให้บริการ และ 3.ผู้รับบริการ ที่ต้องมีแผนรองรับ Covid-19 Free setting รวมถึง ผู้ให้บริการจะต้องประเมินตนเองก่อนเปิดกิจการด้วยแพลตฟอร์มของกรมอนามัย เช่น ไทยเซฟไทย หรือ Thai Stop COVID19 ซึ่งคณะกรรมการหอการค้าฯ จะต้องประสานกับผู้ประกอบกิจการต่างๆ ในแต่ละจังหวัดให้เกิดความเข้าใจตรงกัน


      “การหารือร่วมกันเพื่อเตรียมความพร้อม เช่น สมมติกรุงเทพฯ จะเปิดพื้นที่ได้เมื่อไหร่ อย่างไร ตามเงื่อนไขที่ กทม.เห็นสมควรและศบค.อนุมัติ ซึ่งหอการค้าฯ ก็เตรียมความพร้อมเพื่อเปิดในวันที่อนุญาต สามารถจัดการได้เลย โดยมีหลายพื้นที่ที่ต่างกัน เช่นการพื้นที่สเต็ปต่อไป อย่างที่ผมนำเข้าที่ประชุมเมดดิคอลฮับ(Medical Hub) คือพื้นที่ท่องเที่ยวภาคตะวันออก ประกอบด้วย ระยอง จันทบุรี ตราด หรือพื้นที่เกาะ อำเภอท่องเที่ยว ซึ่งต้องปฏิบัติตามมาตรฐานกรมอนามัย เพื่อเตรียมความพร้อมเปิดกิจการของหอการค้าฯ ได้” นายสาธิต กล่าว
       เมื่อถามถึงการยกระดับ Covid-19 Free setting นายสาธิต กล่าวว่า ยังเป็นไปตามเกณฑ์ แต่ในช่วงแรกจะต้องมีความเข้มงวด แต่เมื่อสถานการณ์แต่ละพื้นที่ดีขึ้น เช่น การฉีดวัคซีน หาก กทม.มีการฉีดมากขึ้นเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ 70%  ถ้าวัคซีนพอแล้วสามารถฉีดกลุ่มเสี้ยงได้ถึง 100% ก็ดำเนินการได้  ส่วนมาตรการต่างๆ อาจจะลดลงได้ แต่ด้านผู้ประกอบการจะต้องฉีดวัคซีนพนักงานให้ครบ 100% มีการตรวจATK ซึ่งหากสถานการณ์ดีขึ้นข้อกำหนดก็อาจเปลี่ยนแปลงไป


   “เชื่อว่ามาตรการที่เข้มข้น วินัยของผู้ประกอบการเป็นความสำคัญในการเดินหน้า เราย้ำว่าหากเลือกเปิดพื้นที่ตามอังกฤษ คือ ฉีดวัคซีนกลุ่มเสี่ยงให้ครบและมากที่สุด เพราะในแง่เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบมาก แต่เมื่อเปิดแล้วต้องยั่งยืน ไม่ต้องกลับมาปิดๆเปิดๆอีก สิ่งเหล่านี้จะเกิดจากการทำความเข้าใจและมีวินัยร่วมกัน ไม่ต้องเปิดแล้วมาปิดใหม่” นายสาธิต กล่าว
    ด้านนายสนั่น กล่าวว่า  การผ่อนคลายในเดือนก.ย.ให้กับธุรกิจเสี่ยงน้อยทำได้ดี ฉะนั้น ในเดือนต.ค.คาดว่าธุรกิจที่มีความพร้อม คงจะมีมาตาการที่ดีและสิ่งที่สำคัญที่สุดเราเก่งเรื่องบริหารจัดการ แต่เรื่องทางสาธารณสุข ทางภาคเอกชนต้องได้รับความรู้ ความเข้าใจ และความมั่นใจทางการแพทย์และสาธารณสุข จึงเป็นสิ่งที่จะต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมีการบูรณาการ ทำให้มาตรการที่ออกมาใช้ได้ผล เนื่องจากธุรกิจในส่วนของหอการค้ามีความใกล้ชิดกับผู้บริโภค ประชาชนทั่วไป การทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนมีความปลอดภัยจะต้องได้รับความร่วมมือจากภาคธุรกิจ ซึ่งแต่ละธุรกิจรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง เช่น พนักงานที่ให้บริการมีมาตรการ สถานที่มีความมั่นใจ สะอาด ปลอดภัย ขณะเดียวกันเข้าใจว่ามาตรการคนมาใช้บริการจะปรึกษากับทางสธ.เพื่อให้มีความมั่นใจว่ามีการตรวจ มีการดูแลอย่างเข้มงวด  
      “ส่วนเรื่องวัคซีนของคนให้และคนใช้บริการ หรือตรวจATKอยู่ที่จิตสำนึกของทุกฝ่าย ต้องมีความรับผิดชอบร่วมกัน จะให้ภาครัฐ และสาธารณสุข คงจะไม่มีเจ้าหน้าที่ที่จะมีพอไปตรวจทุกระยะเวลา และทุกคน  ซึ่งการทำงานร่วมกันจะช่วยภาคเศรษฐกิจไปได้ดี”นายสนั่นกล่าว 
     ผู้สื่อข่าวถามถึงความพร้อมของภาคธุรกิจในเรื่องวัคซีนและการตรวจATK นายสนั่น กล่าวว่า ความพร้อมมีมาก โดยเฉพาะธุรกิจที่ทางการให้เปิดแล้ว มั่นใจว่าพนักงานที่ให้บริการได้รับการฉีดวัคซีนแล้วครบ 2 เข็มแล้ว และให้มีความมั่นใจว่า สถานที่ต่างๆ มีความพร้อมด้วย และมีวางมาตรการที่ปลอดภัย ซึ่งสธ.ได้มีการตรวจดูสถานที่ตัวอย่าง เช่น สยามพารากอน ซึ่งที่อื่นๆก็คงจะเช่นเดียวกัน และตอนใช้จริงๆแล้ว ต้องมาดูว่าประชาชนให้ความร่วมมืออย่างไรบ้าง โดยกรุงเทพฯเป็นพื้นที่ใหญ่ ขนาดภูเก็ตแซนด์บอกซ์ยังมีปัญหา ซึ่งไม่ได้อยู่กับนักท่องเที่ยวต่างประเทศไม่ค่อยมี แต่ปัญหาอยู่กับคนงานที่มาทำงาน และประชาชนบางกลุ่มบางคลัสเตอร์ไปมั่วสุม ไม่ได้ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร สิ่งสำคัญที่สุด ทุกคนต้องมีจิตสำนึก