GIT ต่อยอดงานฝีมืออัตลักษณ์เครื่องประดับพื้นถิ่นทั่วไทย

PostDD

  • *****
  • 1298
    • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     


ประสบความสำเร็จล้นหลามกับการต่อยอดและสร้างแรงบันดาลใจด้านการออกแบบให้กับคนรุ่นใหม่ ที่สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ได้ลงพื้นที่ไปจัดแสดงนิทรรศการ Gems Treasure Huay Pop-Up Exhibition; The Vision เครื่องประดับอัตลักษณ์ไทยสู่สากล และการเสวนาสร้างแรงบันดาล โดยผู้ประกอบการด้านอัญมณีและเครื่องประดับตัวจริง และผู้ก่อตั้งแบรนด์เครื่องประดับระดับประเทศ ระหว่างวันที่ 28 – 29 สิงหาคม ที่ผ่านมา ณ One Nimman จังหวัดเชียงใหม่

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบัน กล่าวว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยเป็นหนึ่งภาคส่วนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจการค้าของประเทศ ที่สามารถช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ช่างฝีมือและแรงงานในภาคอุตสาหกรรมรวมนับล้านคน ซึ่งในปีที่ผ่านมาไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้า



อัญมณีและเครื่องประดับอันดับ 13 ของโลกซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยอย่างมาก โดย อัญมณีและเครื่องประดับเป็น 1 ใน 5 สินค้าส่งออกหลักของไทยที่นำรายได้เข้าประเทศ รวมทั้งมีความสำคัญต่อการจ้างงานในประเทศ


ที่ผ่านมามีหลายโครงการที่พัฒนาสินค้าแฟชั่นซึ่งหมายรวมเอาเครื่องประดับไปด้วย แต่ส่วนใหญ่เครื่องประดับจะถูกพัฒนาเน้นไปเฉพาะแค่การออกแบบที่มีความสวยงามซึ่งเอื้อต่อแฟชั่นเครื่องแต่งกาย แต่ไม่ได้สื่อเอกลักษณ์ที่เป็นตัวตนของเครื่องประดับ หรือสะท้อนวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แท้จริง ตลอดจนอาจไม่ได้คำนึงถึงความเป็นมารวมทั้งเทคนิคต่างๆ ในการผลิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้ขาดพัฒนาการของสินค้า หลายๆ พื้นที่สินค้ามีรูปแบบที่ซ้ำกัน



สถาบัน GIT จึงได้ลงพื้นที่เพื่อไปพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการด้านการออกแบบ และ การผลิตทั่วประเทศ โดยหลายปีที่ผ่านมาได้มีการลงพื้นที่ไปแล้วกว่า 18 จังหวัด และในปี 2564 นี้ก็ได้มีการต่อยอดการลงพื้นที่เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการในอีสานใต้ 5 จังหวัด ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และ อุบลราชธานี (โครงการอีสานมอร์เดิ้น) และ ลงพื้นที่ไปพัฒนาผู้ประกอบการเครื่องเงินภาคเหนือ 5 จังหวัด อันได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดน่าน จังหวัดแพร่ และจังหวัดสุโขทัย ใน โครงการพัฒนาผู้ประกอบการเครื่องประดับเงินภาคเหนือ (โครงการมาเหนือ)



โดยทั้ง 2 โครงการนี้ สถาบันได้มีการฝึกอบรมพัฒนาทั้งรูปแบบสินค้า เทคนิคการผลิต และการตลาดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่เครื่องประดับ นำเอกลักษณ์ของภูมิภาคที่สะท้อนวัฒนธรรมท้องถิ่นมาเป็นจุดขาย และได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ จึงได้จัดแสดงผลงาน Gems Treasure Pop-Up Exhibition; The Vision เครื่องประดับ-อัตลักษณ์ไทยสู่สากล ซึ่งจัดแสดงผลงาน และชิ้นงานของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งสองโครงการ ระหว่างวันที่ 28 – 29 สิงหาคม 2564 ณ One Nimman จังหวัดเชียงใหม่ และเผยแพร่ในรูปแบบ Online ผ่าน Facebook Official: @git.or.th



นอกจากนี้ยังมีการจัดเสวนาให้ความรู้และแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่สนใจ และ ผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับ ตลอดทั้งสองวัน โดย ในวันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม 2564 ได้มีการจัดเสวนา ในหัวข้อ กว่าจะเป็นเครื่องประดับอัตลักษณ์ ซึ่งหัวข้อนี้จะได้ผู้ประกอบการเครื่องเงินที่มีชื่อเสียงจากภาคเหนือ ทั้งเชียงใหม่ แพร่ และ สุโขทัยมาร่วมเสวนา และในวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม 2564 ก็จะมีการจัดเสวนาในหัวข้อ ทำไมต้อง....ออกแบบอัตลักษณ์ไทย โดยได้รับเกียรติจากผู้ก่อตั้งแบรนด์สะพรั่ง และ แบรนด์โนว่า ซึ่งเป็นแบรนด์อัญมณีและเครื่องประดับที่มีชื่อเสียงระดับประเทศมาร่วมพูดคุย ถึงการสร้างสรรค์ผลงาน รวมถึงการนำอัตลักษณ์รอบตัวมาใช้ในการผลิตผลงาน ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า มีผู้สนใจเข้ามาร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก และมีการแชร์ต่อไปยังเพจต่างๆ ซึ่งทำให้เข้าถึงกลุ่มที่มีใจรัก และสนใจเครื่องประดับเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ระหว่างการจัดแสดงผลงานก็ยังมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ และ จังหวัดใกล้เคียง ได้ลงทะเบียนเข้าเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก



“สำหรับผู้ที่ชื่นชอบเครื่องประดับ และรักในการเรียนรู้ GIT เราก็มีแผนที่จะจัดกิจกรรม Gems Treasure Pop-Up Exhibition อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะทำให้ผู้ที่สนใจได้นำเข้าถึงผลงานที่ผ่านการคิด และสร้างสรรค์ จนเกิดเป็นแรงบันดาลใจ ในการสร้างผลงานที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น เป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งในระดับประเทศ และ ต่างประเทศอีกแน่นอน ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารของ GIT ผ่าน www.git.or.th หรือ แอพลิเคชั่น CARAT ได้ตลอด 24 ชั่วโมง” นายสุเมธ กล่าวปิดท้าย