เปิดแผน ครม.อัด 105 ล้านให้ 'กรมประชาสัมพันธ์' เป้าปราบ 'เฟคนิวส์โควิด'

Beer625

  • *****
  • 2322
    • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     


ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (30 ส.ค.) อนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 105,592,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการรณรงค์เอาชนะโควิดตามมาตรการเร่งด่วน (Thailand Prevention) สำหรับผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์เพื่อการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์อันมีผลกระทบอันเนื่องมาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)

โดยการดำเนินงานจากงบประมาณนี้ให้มีดำเนินการในระยะเร่งด่วน (ภายในเดือนธันวาคม 2564) ก่อน โดยคำนึงถึงความเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน  2 กิจกรรม ดังนี้

ผลิตและเผยแพร่ สปอตทางวิทยุ และโทรทัศน์ จำนวน 51,592,000 บาท
ผลิตและเผยแพร่ผ่านสื่อโฆษณา Online จำนวน 54,000,000 บาท
สำหรับกิจกรรมอื่นเห็นสมควรให้กรมประชาสัมพันธ์พิจารณาใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับ โดยพิจารณาดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 ในโอกาสแรก ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ


กรมประชาสัมพันธ์รายงาน ครม.รับทราบว่าความเป็นมาของเรื่องที่จะเสนอจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ระลอกใหม่ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลต้า (Delta) ทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งด้านสาธารณสุขเศรษฐกิจ การลงทุน การศึกษา การประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิต ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น

ซึ่งศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์อุดม คชินทร รองประธานคณะที่ปรึกษาศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไรรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ศบค.) ได้กล่าวในการประชุม ศบค.เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ๒๕๖๔ ว่า "ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ทั่วทั้งโลกมีการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย)อย่างมากแพร่กระจายถึง 96 ประเทศ สถานการณ์ในประเทศไทยเมื่อ 2 เดือนที่แล้วมีการระบาดสายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) ประมาณ 85-90 % ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม มีการระบาดสายพันธุ์เดลต้าภาพรวมประเทศอยู่ที่ 30 % ถือว่าเร็วมากถ้านับเฉพาะกรุงเทพฯและปริมณฑลคิดเป็น 50 % ของเชื้อที่พบ

ทั้งนี้รัฐบาลจึงควรมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ที่นำเสนอประเด็นแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และประเด็นอื่น พร้อมกับสื่อสารให้ประชาชนทราบถึงแนวทางการแก้ไขสถานการณ์หรือประเด็นที่เกี่ยวข้อง

โดยผลการดำเนินงานที่ผ่านมาแม้ภาครัฐจะมีมาตรการและการดำเนินงานเพื่อแก้ไขเยียวยา และบรรเทาผลกระทบของประชาชนออกมาเป็นจำนวนมาก แต่จากความรุนแรงของสถานการณ์ รวมทั้งการเผยแพร่ข่าวปลอมการบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร (Fake News) จากผู้ที่ขาดความรู้ที่ถูกต้อง หรือผู้ที่ไม่พึงพอใจต่อการดำเนินงานของ ภาครัฐ ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนเข้าใจผิดและอาจเกิดปัญหาความชัดแย้งบานปลายได้

ซึ่งประเด็นปัญหาเหล่านี้ได้นำมาหารือในการประชุมคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ เมื่อวันที่ 22กรกฎาคม 2565โดยรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครื่องาม) เป็นประธานการประชุม ซึ่งที่ประชุมได้เร่งรัดให้รัฐบาลเร่งสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในข้อมูลข่าวสาร และมาตรการแก้ไขปัญหาของประเทศตลอดจนวิธีการปฏิบัติตนในช่วงสถานการณ์วิกฤตรุนแรงในปัจจุบัน ดังนั้น การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง หรือผู้ที่ไม่พึงพอใจต่อการดำเนินงานของภาครัฐ ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนเข้าใจผิดและอาจเกิดปัญหาความชัดแย้งบานปลายได้

ซึ่งประเด็นปัญหาเหล่านี้ได้นำมาหารือในการประชุมคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2564 โดยรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานการประชุม ซึ่งที่ประชุมได้เร่งรัดให้รัฐบาลเร่งสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในข้อมูลข่าวสาร์ และมาตรการแก้ไขปัญหาของประเทศตลอดจนวิธีการปฏิบัติตนในช่วงสถานการณ์วิกฤตรุนแรงในปัจจุบัน ดังนั้น การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องรวดเร็ว รวมทั้งการสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ประขาชน จึงเป็นเรื่องสำคัญจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการตามที่ได้มีการขออนุมัติงบประมาณจำนวนดังกล่าว