โลกธุรกิจหลังยุค ‘โควิด-19’ 5 แนวโน้มที่ต้องปรับ ถ้าอยากไปต่อ

hs8jai

  • *****
  • 1341
    • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     


นับถอยหลังอีกไม่กี่วัน “ศบค.” (ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019) เตรียมผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ธุรกิจน้อยใหญ่หลายระลอก หวังลดแรงกดดันจากภาคธุรกิจที่ร้อนรนจนนั่งไม่ติด ขณะที่ภาคประชาชนเอง ก็กำลังจะอกแตกตาย เพราะไม่ได้ช้อปปิ้ง กินข้าวนอกบ้าน ระบายความเครียดสะสมจากสถานการณ์โควิด-19

ประกอบกับ “คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ” ประเมินว่า โควิด-19 น่าจะแตะจุดพีคไปแล้ว ประเทศไทยสมควรจะปรับโหมดการเปลี่ยนผ่านจาก “ภาวะวิกฤต” มาสู่ “ฤดูกาลแห่งการเรียนรู้” ที่จะใช้ชีวิตร่วมกันกับโควิด-19 ต่อไป (Smart Control and Living with Covid-19)

ดูเหมือนว่าในก้าวจังหวะที่โควิด-19 กำลังเปลี่ยนสถานะจาก “โรคระบาด” มาสู่ “โรคประจำถิ่น” ในโลกของธุรกิจเองก็กำลังสปีดตัวเอง เปลี่ยนผ่านองค์กรจาก “ปัจจุบัน” สู่ “อนาคต” เพื่อการเรียนรู้ และใช้ชีวิตร่วมกับดิจิทัลราวกับสมูทตี้

“ถ้าองค์กรจะผ่านโควิด-19 ไปให้ได้ ต้องดูประโยชน์หลักๆ ในภาพรวม แล้วจัดลำดับความสำคัญ เอาเทคโนโลยีโลยีมาประยุกต์ใช้กับข้อมูลที่มันซ้ำๆ อย่าสิ้นเปลืองแรงงานคน” ปฐมา จันทรักษ์ Vice President for Indochina Expansion & Managing Director IBM มองทางรอดเพียงหนึ่งเดียว ท่ามกลางสถานการณ์ที่เดายาก

ถึงแม้โควิด-19 จะสร้างความมึนอึนไปทั่วโลก แต่ยุคเฟื่องขององค์กรและพนักงานหลังโควิด-19 จบซีซันส์ ก็ยังเป็นไปได้ ท่ามกลางคนตกงานนับล้านคน ทั้งหน้าใหม่หน้าเก่าที่เดินชนกันให้ควั่ก

ปฐมาวิเคราะห์แนวโน้มที่สำคัญ จากการบรรยายในหัวข้อ “Thriving in the Post Covid-19 Era : Organizations & Workforce” (virtual conference) ในงาน Learning Development Forum 2021 จัดโดย สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) เมื่อกลางเดือนสิงหาคม 2564 ว่า

องค์กรเริ่มเหนื่อยล้าจากการมาของโควิด-19 เปรียบเหมือนก็อตซิลล่าที่ฟาดหัวฟาดหางถล่มเมือง พ่นไฟทำลายล้างแล้วจากไป ทิ้งโลกที่ไม่เหมือนเดิมเอาไว้ข้างหลัง

“โลกเปลี่ยนแปลงไป ทุกสิ่งทุกอย่างปิด เราไม่เคยเจอแบบนี้ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น วันนี้โลกชัทดาวน์ สายการบินชะงัก การเดินทางหยุดนิ่ง โรคระบาดสร้างการช็อกโลก เกิดอะไรขึ้นบ้าง? สถานการณ์คนตกงาน รอตังค์ รอความช่วยเหลือ รอติดโควิด-19 รอตรวจ รอเตียง โรงพยาบาลเต็ม รอเตาเผา

ทำยังไงถึงจะผ่านสถานการณ์นี้ไปได้ด้วยกัน หลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น องค์กรพยายามปรับตัว แต่ผลกระทบมันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้แต่ในอเมริกาเองในบางรัฐ ช่วงนี้ก็ต้องกลับมาใส่หน้ากากอนามัยกันใหม่ ผู้คนเริ่มติดเชื้อมากขึ้น เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการปรับตัวในหลายองค์กรอย่างมาก”

การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนคือ การปรับกลยุทธ์เป็นพัลวัน พนักงานต้องเปลี่ยนเก้าอี้นั่งจากที่ทำงานเป็นที่บ้าน การใช้เทคโนโลยีไม่ซ้ำแบบในองค์กร ทั้งระบบการทำงานอัตโนมัติ การจัดเก็บเนื้องานไว้ที่คลาวด์ และมีคนทำงานไม่น้อยกว่า 340 ล้านคนทั่วโลก ตกงานในชั่วข้ามคืน

แนวโน้มการจัดการองค์กรปี 2020 แม้ว่าจะมีโควิด-19 มาฮึ่มๆ แต่หลายองค์กรก็ยังมองโลกสวย มองไปที่การแข่งขัน การสร้างแพลทฟอร์ม การเอาเทคโนโลยีควอนตัมมาจัดเก็บข้อมูล การสร้างพนักงานให้เก่งและเข้าถึงใจลูกค้า และเรื่องของทักษะการทำงานที่บ้าน แต่พอมาปี 2021 นี้ สถานการณ์ที่บีบรัด ทำให้ทั้งคนและองค์กรต้องขยันปรับตัว ภายใต้ 5 เทรนด์ที่สำคัญคือ

1. ความไม่เท่าเทียมกันของแต่ละประเทศ ความแตกต่างทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบให้บริการและสวัสดิการภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการกักตุนวัคซีน เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด

“ไอบีเอ็มให้พนักงานทำงานที่บ้านมา 19 เดือนแล้ว เป็นการเตรียมความพร้อม ก่อนที่เหตุการณ์จะบานปลาย จนกลายเป็น black swan event (เหตุการณ์ที่มีความร้ายแรง แต่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน เหมือนที่คนคิดว่าโลกนี้มีแต่หงส์ขาว แล้วจู่ๆ หงส์ดำก็โผล่มา) ความรุนแรงที่ฉุดไม่อยู่นี้ แม้แต่ดิสนีย์ยังต้องตัดใจเลย์ออฟพนักงานสวนสนุก บางองค์กรก็ให้พนักงานลาออกแบบสมัครใจ หรือไม่ก็พักงานโดยไม่มีค่าจ้าง บางประเทศพิมพ์แบงก์เพิ่มขึ้น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จะเห็นได้ว่าผู้นำต้องเตรียมความพร้อมไว้เสมอ เผื่อเจอเหตุการณ์ไม่คาดคิด”

2. Work From Home (WFH) ไม่ได้เวิร์กสำหรับทุกคน บางคนสนุกกับการทำงานจากบ้านในช่วงแรกๆ เพราะไม่ต้องเดินทาง แต่พอต้องนั่งติดเก้าอี้เป็นวันๆ ก็เริ่มตระหนักว่า การทำงานจากบ้าน งานไม่ได้น้อยลงเลย ติดแหง็กกับการประชุมและงานตรงหน้า กระดิกไปไหนไม่ได้ กระทบกับสุขภาพ และภาวะจิตใจจนแทบซึมเศร้า

3. Supply Chain เริ่มส่งผลกระทบรุนแรง หลายโรงงานต้องปิดตัวลง เพราะพนักงานติดโควิด-19 ทำให้อยู่นอกเหนือการควบคุม ทำอย่างไรให้องค์กรสามารถกำหนดอนาคตตัวเองได้ หรือนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อไม่ให้กระบวนการผลิตสะดุด

4. แพ้หรือชนะขึ้นกับเทคโนโลยี หลายองค์กรจะแพ้หรือชนะ หรือจะผ่านจากฝันร้ายโควิด-19 ไปได้ ขึ้นกับการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ สร้างการแข่งขันให้เกิดขึ้น โดย 400% ขององค์กร ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ สามารถก้าวข้าม หรือรับมือกับสถานการณ์ตึงเครียดได้

“วันนี้โลกเสมือนกลายเป็นของจริง เกิดการยอมรับมากขึ้น ฟิตเนสออนไลน์ทำให้ราคาถูกลงจาก 3,000 บาท เหลือ 89 บาท”

5. เหตุการณ์หลักยังคงต่อเนื่อง แม้โควิด-19 จะหายไปแล้ว แต่การปรับเปลี่ยนจะยิ่งเห็นได้ชัดเจนใน 5 เหตุการณ์ย่อยคือ

5.1 โควิด-19 เป็นตัวเร่งการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ ทั้งในแง่ความเร็ว การอัดฉีดเงินลงทุนทางด้านดิจิทัล โดยไม่ได้ช้อปปิ้งเทคโนโลยีแบบไก่กา แต่เลือกเอาตัวท็อปๆ มาใช้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้องค์กร โดยเฉพาะเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติ

5.2 การทำงานทางไกลจะมาแรง (remote working) การทำงานร่วมกันทั้งองค์กรแต่ไม่เจอกันตัวเป็นๆ HR จะบริหารแรงงานที่กระจัดกระจายอย่างไร?

“กรมสรรพากร เป็นตัวอย่างที่ดี ในการใช้เทคโนโลยีโลยีเข้ามาปรับกระบวนการทำงาน โดยเริ่มต้นจากให้ผู้บริหารเปลี่ยนชุดความคิด (mindset) เอาผู้บริหารมาทำเวิร์กชอป เอาแนวคิด outside in มาช่วยขับเคลื่อนระบบการให้บริการ ที่ตรงเป้า ตรงกลุ่ม ตรงใจ ช่วงเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด กรมสรรพากรเตรียมความพร้อม จนไม่สะดุดงานบริการเสียภาษี”

การที่จะทำให้การเปลี่ยนแปลงประสบความสำเร็จ ในกรณีที่ผู้บริหารเอาเทคโนโลยีมาใช้ แต่คนในองค์กรยังไม่พร้อม คือ

1. เพิ่มความสามารถ

2. ลองผิดลองถูก

3. เปลี่ยนแปลงปรับตัว

“ความท้าทายขององค์กร ที่เป็นเรื่องสลับซับซ้อนขององค์กรเอง ทักษะพนักงานที่ไม่เพียงพอ การทำงานล้นมือ จะไม่เกิดถ้าเอาเทคโนโลยีมาใช้ และฝึกฝนพนักงานให้มีความพร้อม ซึ่งจะทำให้อีก 2 ปีข้างหน้า องค์กรได้ปรับปรุงเรื่องการให้บริการ และทำให้พนักงานพึงพอใจเพิ่มขึ้นถึง 23%”

“Spotify” เป็นตัวอย่างขององค์กรที่ mix & match พนักงานกับเทคโนโลยีเข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว โดยใช้แนวคิด people driven เปลี่ยนวัฒนธรรมการคิด เปลี่ยนมุมมองการทำงาน รองรับความแตกต่างของผู้ใช้งานยุคใหม่ โดยตั้งทีมเล็กๆ ที่เรียกว่า “speed boat” ให้ทำงานคล่องตัวมากขึ้น ทำงานแบบเร็วๆ ใช้กำลังคนเพียงแค่ 6-12 คน

การขับเคลื่อนองค์กร เริ่มจากคำแรกคือ ทำอย่างไรให้ง่ายขึ้น ผู้ฟัง Spotify สามารถปรับเลือกฟังเฉพาะเพลงที่ชอบ เปิดกว้างให้พนักงานบริหารเวลาทำงานได้เอง ให้พนักงานแสดงความคิดเห็นได้เสรี โดยไม่ตีค่าว่าความคิดเห็นอันไหนผิด ทำให้พนักงานหัดทดลองทำ ต่อให้สถานการณ์ย่ำแย่ขนาดไหน พนักงานก็ไม่หยุดลองผิดลองถูก ทำให้ Spotify เป็นองค์กรก้าวผ่าน เตรียมความพร้อมให้พนักงานทำงานได้ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น

5.3 ความเครียดเป็นสาเหตุสังเกตุได้ ไอบีเอ็มมองว่าความเครียดไม่ใช่เรื่องเล่นๆ มันสามารถ hijack กลยุทธ์องค์กรได้ ความเครียดจากการทำงานหนัก ทำให้พนักงาน 60% ยื่นข้อเรียกร้องว่า ถ้าสถานการณ์โควิด-19 กลับมาปกติ คนกลุ่มนี้ขอทำงานที่บ้าน 1 วัน เพื่อบำบัดภาระงานที่ตึงเครียด

“วันนี้ลูกค้าสั่งซื้อออนไลน์มากขึ้น supply chain หลายองค์กรเตรียมความพร้อมให้องค์กรลดต้นทุน มีกระแสเงินสด ปตท.เทรดดิ้ง เป็นอีกตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีโลยี และ AI มาใช้ เสริมประสิทธิภาพใหม่ๆ สนับสนุนกระบวนการ ที่ช่วยให้พนักงานลดขั้นตอนการทำงาน ลดโหลดการทำงานจากที่บ้าน ได้ 5 เท่า ภายใน 3 ปี และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้องค์กรได้ 17 ล้านบาท”

5.4 ไม่มีองค์กรไหนทำงานเพียงลำพังอีกต่อไป ทำอย่างไรองค์กรถึงจะเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อสร้างโอกาส “Airbnb” เป็นตัวอย่างที่ดีของการอธิบายแนวคิดนี้

ผู้บริหาร Airbnb ประกาศว่า แม้บริษัทจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่เราจะกลับมาใหม่ และถึงแม้ว่าโรคระบาดจะยังคงมีต่อเนื่อง และวันนี้ถึงแม้ลูกค้าจะไม่ได้ใช้บริการ Airbnb แต่ก็ขอให้เชื่อมั่นในเรา

Airbnb มองว่า โลกยุคใหม่ เทคโนโลยีสามารถเป็นได้ทุกอย่าง ไม่ใช่แค่อำนวยความสะดวกให้กับพนักงาน แต่สามารถเอาแนวคิดภูมิทัศน์ มาปรับใช้กับการทำงานทุกภาคส่วน ร่วมกับธนาคาร เปิดให้บริการต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวก จับมือไขว้กันไปมาระหว่างอสังหาริมทรัพย์ ธนาคาร และเอ็นจีโอ มองเป็นภาพเดียวกันคือ ระบบนิเวศทางธุรกิจ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า

5.5 นำความยั่งยืนมาใช้กับกลยุทธ์องค์กร เหตุการณ์ไฟไหม้ป่าที่แคลิฟอร์เนีย น้ำแข็งขั้วโลกละลาย วิกฤติสภาพอากาศ ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องเร่งด่วน ต้องแก้ไข ไม่ใช่มีแต่โรคระบาด การจัดการภัยพิบัติโดยใช้เทคโนโลยีโลยีจึงสำคัญ

“ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ก๊าซเรือนกระจก ดักจับคาร์บอน เอาเทคโนโลยี เอา AI มาเร่งหาดักจับคาร์บอนในพื้นที่ต่างๆ จะเห็นได้ว่าไม่ใช่แค่เอาเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร แต่มาใช้ในการรวบรวมข้อมูลสภาพอากาศ ดาวเทียม แพลทฟอร์มต่างๆ เพื่อแจ้งเตือนภัยพิบัติ”

อีกตัวอย่างอินเทรนด์ที่ไม่ควรมองข้ามคือ ยุคเรืองรองของ gig economy (เทรนด์การทำงานรูปแบบใหม่ โดยเน้นการจ้างงานในรูปแบบชั่วคราว สัญญาจ้าง ฟรีแลนซ์ หรือแม้แต่คนที่ทำธุรกิจส่วนตัวแบบที่ไม่มีลูกน้อง)

gig economy ก่อร่างสร้างตัวจาก 3 ปัจจัยคือ

1. สังคมออนไลน์ งานฟรีแลนซ์

2. เศรษฐกิจแบ่งปัน เอาของที่มี มาให้คนอื่นได้ใช้

3. ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่

แมกเคนซี่ บอกว่า gig economy มีประชากรสายพันธุ์นี้อยู่ทั่วโลก 68 ล้านคน แต่ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับอาชีพอิสระ

งานวิจัยในออสเตรเลีย บอกว่า คนอายุ 18-19 ปี เริ่มเข้าสู่การทำงาน และ 70% ของงาน ถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ

การที่จะทำให้คนทำงานวัยใสมีลู่วิ่งต่อไปได้ องค์กรต้องคำนึง 3 เรื่องคือ

1. เอาระบบอัตโนมัติมาใช้

2. ให้คนทำงานทำอยู่ที่ไหนก็ได้บนโลกใบนี้

3. ทำอะไร? ทำที่ไหน? ทำอย่างไร?

ถือเป็น 3 เรื่องที่สำคัญสำหรับเด็กรุ่นใหม่ ในยุคที่ความมั่นคงไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งงานที่เดียวอีกต่อไป

“ถ้าองค์กรจะผ่านโควิด-19 ไปให้ได้ ต้องดูประโยชน์หลักๆ ในภาพรวม แล้วจัดลำดับความสำคัญ เอาเทคโนโลยีโลยีมาประยุกต์ใช้กับข้อมูลที่มันซ้ำๆ อย่าสิ้นเปลืองแรงงานคน”

อย่าลืมนะ

URL