ส.ป.ก.ดัน 'ฉะเชิงเทรา' โมเดลอุตสาหกรรมสมุนไพร

Thetaiso

  • *****
  • 2132
    • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     


วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการ ส.ป.ก. เปิดเผยว่า การปลูกพืชสมุนไพรในพื้นที่ส.ป.ก.ได้สนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมมาตั้งแต่ปี 2560 เนื่องจากเห็นว่าการปลูกสมุนไพรจะสามารถสร้างความมั่นคงเชิงคุณภาพชีวิตได้ แต่การขับเคลื่อนเป็นไปตามความประสงค์ของเกษตรกรนั้นไม่ถือเป็นนโยบายหลัก โดยมีเกษตรกรบางกลุ่มที่สามารถเชื่อมโยงกับตลาดและผลิตในเชิงอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรในพื้นที่ ส.ป.ก.รวม 4,500 ไร่ มีเกษตรกรเข้าร่วม 5,000 ราย ครอบคลุมพื้นที่ 32 จังหวัด แต่ปัจจุบันกระแสการใช้สมุนไพร เพื่อบรรเทาอาการของโรคโควิด-19 มีมากขึ้น ทั้งในและต่างประเทศ และคาดว่าจะมีการวิจัยผลิตตัวยาออกมารักษาในอนาคต ซึ่งส่วนผสมที่สำคัญที่เป็นพืชสมุนไพร ดังนั้นจึงทำให้พืชสมุนไพรมีอนาคตมาก รวมถึงรัฐบาลจึงกำหนดนโยบายเร่งด่วนผลักดันให้เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ

ในขณะที่ ส.ป.ก.ได้กำหนดให้ตั้งศูนย์ส่งเสริมและขยายพันธุ์พืชในเขตปฏิรูปที่ดินใน 5 ภูมิภาค ประกอบด้วย จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ลำพูน จ.นครราชสีมา จ. นครศรีธรรมราช และ จ.ฉะเชิงเทรา ที่อยู่ในเขตอีอีซี

สำหรับ จ.ฉะเชิงเทรา นั้น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) มีความสนใจที่จะยกระดับพัฒนาพื้นที่ เพื่อส่งเสริมการปลูกสมุนไพรเชิงอุตสาหกรรม และร่วมวิจัยสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเกษตรกรรม ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งเกษตรกรมีความพร้อมอยู่แล้วสามารถต่อยอดได้ทันที

ศูนย์ส่งเสริมและขยายพันธุ์พืชในเขตปฏิรูปที่ดิน จ.ฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 3 ต.คลองนครเนื่องเขต อ.เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา จะทำหน้าที่เป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า รูปแบบ การใช้ประโยชน์ที่ดินขนาดเล็ก หรือที่ดินแปลงเล็กเพื่อให้ทำการเกษตรให้ได้ผลตอบแทนสูง เพื่อให้เกษตรกรนำไปประยุกต์ใช้ กับแปลงเกษตรของตนเอง สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้และมีคุณภาพที่ดี เช่น พืชผักปลอดสารพิษตามตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) รวมถึงการทำเกษตรปลอดภัย (การผลิตพืชผักในระบบโรงเรือนมุ้ง การปลูกพืชสมุนไพร)

การพัฒนาตามแนวทางดังกล่าวถือเป็นการพัฒนารูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ มีศักยภาพเหมาะสมต่อการพัฒนาเป็นศูนย์กลางการส่งเสริม วิจัย พัฒนา ขยายพันธุ์พืชในเขตปฏิรูปที่ดิน ภาคตะวันออก เพื่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงต่อเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออก โดยได้กำหนดทิศทางในการดำเนินงานที่เน้นส่งเสริม สนับสนุนองค์ความรู้ในการขยายพันธุ์พืช การผลิต การอนุรักษ์พันธุกรรมเพื่อการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพร ตลอดห่วงโซ่อุปทาน

รวมทั้งขยายผลการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรในเขตปฏิรูปที่ดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่งเสริมการขยายพันธุ์พืชสมุนไพรที่มีแนวโน้มขาดแคลนและหายาก เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งพันธุ์ดี มีคุณภาพ ยกระดับสมุนไพรไทย พัฒนาเป็นอาหารและยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ โดยใช้หลัก “การตลาดนำการผลิต” และมีการวางแผนระบบการผลิตพืชตามมาตรฐาน GAP หรือเกษตรอินทรีย์ (Organic) สืบสานภูมิปัญญาไทย

'ทั้งนี้โครงการศูนย์กลางการส่งเสริม วิจัย พัฒนา ขยายพันธุ์พืชในเขตปฏิรูปที่ดิน จ.ฉะเชิงเทรา ภาคตะวันออก มีแผนดำเนินโครงการ 5 ปี (2564-2568) โดยเริ่มตั้งแต่เดือน ก.ค.ที่ผ่านมา และคาดว่าจะสามารถเปิดตัวศูนย์ได้ในเดือน ส.ค.นี้ หลังจากนั้นจะรวบรวม ขยายพันธุ์ อนุรักษ์พันธุกรรมพืชสมุนไพรในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม

 

นอกจากนี้ ศูนย์กลางการส่งเสริม วิจัย พัฒนา ขยายพันธุ์พืชในเขตปฏิรูปที่ดิน จ.ฉะเชิงเทรา จะคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วม 500 ราย ซึ่งหรือพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ต่อรายต่อปี และคาดว่าจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้สุทธิเฉลี่ยครัวเรือนเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3% จากการจำหน่ายวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และสินค้าจากสมุนไพร

 

รวมทั้งมีแผนการผลิตตามปีปฏิทินการเพาะปลูกพืชสมุนในแปลงปลูก 2 รูปแบบ คือ

1.แปลงสมุนไพรเชิงเศรษฐกิจและมีศักยภาพทางการตลาด พื้นที่ 5 ไร่ จำนวน 17 ชนิด ได้แก่ พริกไทย เคล กระชายดำ กระชายขาว ไพล ขิง ขมิ้น ใบบัวยก พลูคาว กระเทียม ผักชี หญ้าหวาน สะเดา กระทือ กวาวเครือขาว มะแว้งเครือ และเสลดพังพอนตัวเมีย

2.แปลงเรียนรู้ วิจัยและพัฒนา พื้นที่ 6,210 ตารางเมตร จำนวน 11 ชนิด ได้แก่ เคล กระชายดำ กระชายขาว ไพล ขิง ขมิ้น ใบบัวบก พลูคาว กระเทียม ผักชี และหญ้าหวาน โดยมีระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่เดือน ก.ค.-ก.ย.2564

รายงานข่าวจาก ส.ป.ก.ระบุว่า ที่ผ่านมา ส.ป.ก.ได้ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรหลายโครงการ โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ทดลองปลูก “ฟ้าทะลายโจร” บริเวณสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งวางแผนการปลูกสัปดาห์ละ 1,000 ต้น เพื่อแจกให้เกษตรกรนำไปปลูกในครัวเรือน และใช้รับประทานเป็นยาสมุนไพรเพื่อป้องกันโควิด-19

รวมทั้ง จ.ฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญเชื่อมโยงระบบโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์มีศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าการลงทุนและอุตสาหกรรม ซึ่งมีการกำหนดแนวทางการพัฒนา จ.ฉะเชิงเทรา ให้เป็นพื้นที่เชื่อมอีอีซีสู่เมืองที่อยู่อาศัยชั้นดี โดยมีการพัฒนาแบบจำแนกเชิงพื้นที่อุตสาหกรรมสีเขียวท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแหล่งผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยสังคมมีคุณภาพป่าและน้ำอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญในการแข่งขันด้านการผลิตการแปรรูปและการส่งออกของภาคการเกษตร