'อมิตี้' คลาวด์คอมพนี ปั้นฟีเจอร์โซเชียลตอบโจทย์แอพทั่วโลก

Jessicas

  • *****
  • 2166
    • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     


กรวัฒน์ เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อมิตี้ จำกัด เปิดมุมมองว่า การระบาดของโควิด-19 เป็นเสมือนตัวเร่งให้หลายองค์กรมองหาการสร้างชุมชนดิจิทัลและการมีส่วนร่วมของผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น อมิตี้จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถรวมฟีเจอร์โซเชียลเข้าไปในแอพฯ และเว็บไซต์ขององค์กรได้โดยการเขียนโค้ดเพียงไม่กี่บรรทัด ทำให้ลูกค้าและผู้ใช้งานรายเดือนสามารถส่งข้อความและมีปฏิสัมพันธ์ผ่านหลายพันล้านข้อความในแต่ละเดือนได้โดยง่าย

“ในปีแรกของการระบาดของโควิด-19 อมิตี้เห็นความต้องการที่เพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า จากองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการรวมฟีเจอร์โซเชียลต่าง ๆ เช่น ฟีด โปรไฟล์ กลุ่ม แชท และวิดีโอสตรีม เข้าไปในแอพฯและเว็บไซต์ขององค์กร เพื่อดึงดูดลูกค้า ผู้ใช้ และพนักงาน ซึ่งอมิตี้สามารถพลิกกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัทตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นด้วยบริการที่ครอบคลุม ทั้งในด้านฟีเจอร์โซเชียล การมีส่วนร่วมของพนักงาน และแชทบอทที่ขับเคลื่อนด้วยแมชชีนเลิร์นนิ่งที่ดึงดูดผู้ใช้งานผ่านช่องทางที่หลากหลายได้อย่างชาญฉลาด”

ตั้งเป้าเบอร์ 1 ระดับโลก

ในปี 2563 อมิตี้ได้เข้าซื้อกิจการของ ConvoLab ซึ่งเป็นบริษัทแชทของไทย และย้ายบริการทั้งหมดไปยังคลาวด์ชั้นนำของโลกเพื่อเร่งพัฒนานวัตกรรมและปรับขนาดแพลตฟอร์มโซเชียลใหม่อย่างรวดเร็ว ให้มีความโดดเด่นในด้านบริการ ได้แก่ คอนเทนเนอร์ ฐานข้อมูล และแมชชีนเลิร์นนิ่ง โดยเสนอประสบการณ์การใช้โซเชียลและสร้างชุมชนดิจิทัลที่ไม่เหมือนใคร เพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้า และเปิดโอกาสในการสร้างรายได้ใหม่ 

นอกจากนี้ยังใช้สถาปัตยกรรมแบบ Serverless ช่วยให้บริษัทสามารถปรับขยายตามจำนวนลูกค้าได้เร็วขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลอัตโนมัติรองรับลูกค้าในกรณีที่มีการปล่อยแคมเปญบนโซเชียลมีเดียหรือทำกิจกรรมส่งเสริมการขาย นอกจากนั้นการใช้ Amazon Personalize ซึ่งเป็นบริการแมชชีนเลิร์นนิ่ง ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถสร้างประสบการณ์ผู้ใช้แบบเฉพาะเจาะจงสำหรับบุคคลแบบเรียลไทม์จำนวนมากที่มีความแม่นยำสูงได้รวดเร็วขึ้น

ในด้านขององค์กร อมิตี้ให้ความสำคัญในเรื่องของนวัตกรรมและการเติบโตระดับโลกได้เร็ว เนื่องจากอมิตี้เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีซอฟต์แวร์แห่งเดียวในประเทศและอาเซียน ที่โปรดักท์กำลังเติบโตในตลาดที่ใหญ่ที่สุดของโลกด้านซอฟต์แวร์ใน 3 ตลาด ได้แก่ จีน ยุโรป สหรัฐ รวมทั้งมีลูกค้าทั้งองค์กรระดับเอสเอ็มอี ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่หลายร้อยแห่ง และบริษัทที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชียอย่างจีน ยุโรปและอเมริกาเหนือ


สร้างทีมงานระดับนานาชาติ

ส่วนมุมมององค์กรธุรกิจเทคโนโลยีในอาเซียนและไทย กรวัฒน์ มองว่า ยังมีขนาดเล็กทิ้งช่วงห่างยุโรป อเมริกาและจีน พอสมควร ทั้งในแง่ของการใช้จ่ายและขนาด ซึ่งยังไม่มีผู้เล่นรายใดที่พัฒนา B2B SaaS ที่ก้าวสู่ระดับยูนิคอร์น หรือบริษัทที่สำเร็จ ซึ่งอมิตี้เน้นการเป็นบริษัทระดับโลกตั้งแต่แรก โดยบริษัทมีพนักงานมากกว่า 30 ชาติ และมีสำนักงานในไมอามี่ ลอนดอน มิลาน และไทย ซึ่งในไทยมีพนักงานมากกว่า 20-25 ชาติ โดยจุดสำคัญคือพยายามสร้างทีมระดับนานาชาติที่มีความแข็งแกร่ง

“ทั้งนี้การสร้าง B2B SaaS ต่างจากการสร้างธุรกิจเทคโนโลยีสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ซึ่ง B2B SaaS เป็น ธุรกิจที่ยั่งยืน เพราะเป็นธุรกิจที่มีสัดส่วนกำไรสูงมาก หากดูมูลค่าตลาดของบริษัทที่ทำคลาวด์ เทคโนโลยี จะเห็นได้ว่าบริษัท B2B SaaS ทำกำไร และมูลค่าตลาดมากที่สุดในโลก แต่ธุรกิจเทคโนโลยีสำหรับผู้บริโภคยังยากที่จะเห็นกำไร และสร้างให้เสถียรทำให้การเติบโตในต่างประเทศค่อนข้างยาก”

ส่วนคำแนะนำสำหรับตลาด B2B SaaS หากสตาร์ทอัพรายอื่นต้องการจะเข้าสู่ตลาดนี้ กรวัฒน์ กล่าวว่า B2B SaaS เป็นเนเจอร์ที่ค่อนข้างต่าง หากชนะในไทยได้ ก็ชนะตลาดยุโรป อเมริกา จีน ได้เช่นกัน แต่อย่างแรกคือ ต้องหาโฟกัส ตลาดที่เฉพาะเจาะจง ที่คนอื่นอาจจะยังไม่ได้ทำได้ดีมาก จากนั้นพยายามพัฒนาให้ตอบโจทย์ภูมิภาคและระดับโลก

อย่างไรก็ตามความได้เปรียบของลูกค้าไทยและอาเซียน คือมีการใช้สมาร์ทโฟนค่อนข้างเร็ว ทำให้เห็นว่าในอนาคตคนจะต้องการซอฟต์แวร์มากขึ้น อีกทั้งเรื่องของค่าใช้จ่าย ภาษี ทำให้ไทยมีความก้าวหน้ากว่าในอเมริกา ยุโรป จึงค่อนข้างง่ายที่จะเซ็ตอัพ 

ขณะเดียวกันภาพรวมการแข่งขัน กรวัฒน์ เผยว่า ยังไม่มีคู่แข่งที่สามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นโซเชียลองค์กร บริการหรือฟีเจอร์สำเร็จรูป คู่แข่งส่วนใหญ่ตั้งเป้าไปที่บริษัทที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีตลอดจนผู้บริหารด้านเทคนิค เป็นการซื้อโมดูลแชทและ plug-in เข้าไป ฉะนั้น จึงต้องพยายามเติบโตให้เร็ว เพราะอีกไม่นานจะมีคู่แข่งมากขึ้น และอีกหนึ่งจุดประสงค์ที่ทำให้อมิตี้แข่งในต่างประเทศได้ ต้องบอกว่าในไทยยังไม่ค่อยมีบริษัทที่ทำ IaaS ทั้งตลาดอาเซียน เอเชีย

เน้นเทคโนโลยีสร้างจุดแข็ง

ส่วนจุดแข็งของอมิตี้คือ การลงทุนด้านเทคโนโลยี โดยปีที่ผ่านมางบการวิจัยและพัฒนาของบริษัทประมาณ 7-8 ล้านดอลลาร์และใช้วิศวกรประมาณ 60-70 คน แน่นอนว่าเมื่อพัฒนาเทคโนโลยีมาตลาด 8-9 ปี งบการวิจัยและพัฒนาทั้งสิ้นประมาณ 20 ล้านดอลลาร์

เนื่องจากอมิตี้ต้องพัฒนาและจำหน่ายเทคโนโลยีให้กับลูกค้าวิศวกร ดังนั้น คุณภาพโปรดักท์ ความสามารถของกระบวนการ ระบบปฏิบัติการจะต้องดี ซึ่งต้องทำงานร่วมกับ AgriTech ของ AWS เพื่อดีไซน์ ทั้งลงทุนเพื่อที่จะทำสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์รองรับปริมาณการใช้งานจำนวนมาก ทุกเดือนอมิตี้ให้บริการ 3 พันล้านข้อความ นี่คืออุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดที่สูง

ทั้งนี้ เป้าหมายและทิศทางอมิตี้หลังจากนี้ จะมุ่งให้เกิดการเติบโตที่สุด และยึดหมวดหมู่ และ IaaS จึงต้องพยายามก้าวสู่ผู้นำในตลาดโลก โดยทุ่มทางการตลาดเพื่อให้เป็นที่รู้จักนำเสนอชุดผลิตภัณฑ์พร้อมฟีเจอร์สำเร็จรูป คาดว่า 3-4 ปี อมิตี้จะเป็นบริษัทที่ทำซอฟต์แวร์ใหญ่ระดับสากลได้