ไทยเร่งเป้า 'ซีโร่คาร์บอน' 'สุพัฒนพงษ์' หวังต่างชาติเพิ่มลงทุนไทย

Chanapot

  • *****
  • 1900
    • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     


นับจากข้อตกลงปารีส หรือ "COP 21" ในปี 2558 ที่มีเป้าหมายลดภาวะโลกร้อนทำให้หลายประเทศให้ความสำคัญกับการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งประกาศการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเ และในการประชุม "COP 26" ในปีนี้ไทยจะประกาศเป้าหมาย Zero Carbon เช่นกัน

เป้าหมายปีที่จะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในประเทศให้เหลือ 0 หรือ “Zero Carbon” หรือ “Carbon neutral” นโยบายดังกล่าวถือว่าเป็นเทรนด์สำคัญที่ประเทศไทยจะต้องนำเอามากำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ รวมไปถึงนโยบายเปิดรับการลงทุน เพราะในการเลือกประเทศที่จะเข้ามาลงทุนของบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่จะพิจารณาถึงการให้ความสำคัญต่อนโยบายด้านนี้ด้วย ประเทศไทยจึงต้องมการปรับนโยบายของประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของโลก

การประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติปี 2564 หรือที่เรียกว่า “COP26”ซึ่งสหประชาชาติจะจัดประชุมร่วมกับสมาชิกที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 31 ต.ค. – 12 พ.ย.ที่จะถึงนี้ถือว่ามีความสำคัญในการประกาศจุดยืนเรื่อง Zero Carbon ของประเทศไทยในเวทีระดับโลก

สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน เปิดเผยระหว่างการปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ“Restart เศรษฐกิจไทยฝ่าภัยโควิด” จัดโดยกรุงเทพธุรกิจ ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)เมื่อเร็วๆนี้ว่าประเทศไทยจะใช้เวทีการประชุมระดับโลกดังกล่าวประกาศเป้าหมายปีที่จะสิ้นสุดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์โดยอยู่ระหว่างช่วงปี ค.ศ.2065 - 2070 ซึ่งขณะนี้กำลังหารือกันถึงปีที่แน่นอนที่จะมีการประกาศต่อประชาคมโลก โดยจะเร็วขึ้นจากเป้าหมายเดิมที่กำหนดไว้ในปี ค.ศ.2100 30 – 35 ปี ส่วนปีที่ประเทศไทยจะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในจุดสูงสุดคือปี ค.ศ.2030 และจะลดลงสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอน เป็นศูนย์ในที่สุด

ทั้งนี้การที่ประเทศไทยกล้าที่จะขยับเป้าหมายในการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ได้รวดเร็วขึ้นจะมาจากแรงสนับสนุนเรื่องเทคโนโลยี และแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากญี่ปุ่นซึ่งประเทศ G7 มอบหมายให้ญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคนี้เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว 

“สุพัฒนพงษ์” ระบุว่าเป้าหมายดังกล่าวของประเทศไทยเป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลที่หนดทิศทางเศรษฐกิจของไทยในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศตามแนวทางนโยบาย “4D” โดยเน้นในส่วนที่ไทยมีโอกาสและศักยภาพที่จะเติบโตได้แก่

 1.ยกระดับการพัฒนาดิจิทัล (Digitalization)

2. การมุ่งเน้นการส่งเสริมการผลิตที่ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และมลภาวะ (Decarbonization)

3.โมเดลเศรษฐกิจที่ใช้ประโยชน์จากการกระจายฐานการผลิตของบริษัท และอุตสาหกรรมชั้นนำที่ต้องการลดความเสี่ยงจากการมีฐานการผลิตอยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่ง (Decentralization )

และ 4.โมเดลลดความเสี่ยงในเรื่องของการซื้อที่อยู่อาศัยในต่างประเทศ โดยเราจะดึงดูดให้ผู้มีรายได้สูง และทักษะสูงในกลุ่มอาชีพต่างๆมาอยู่ในไทยในระยะยาว (D-risk)

ทั้งนี้นโยบาย "Decarbonization" จะถือเป็นนโยบายสำคัญที่ช่วยให้เกิดการลงทุนขนาดใหญ่ในประเทศไทยจากบริษัทชั้นนำที่มาจากกลุ่มประเทศพัฒนา  แล้วอย่างกลุ่มประเทศ G7 ซึ่งมีทั้งเม็ดเงินลงทุนมหาศาล และมีองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ประเทศไทยต้องการให้เข้ามาลงทุนและช่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อช่วยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไทยในอนาคต

โดยในการประชุมของกลุ่มประเทศ G7 ล่าสุดนั้นให้ความสำคัญในเรื่องการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจากในกระบวนการผลิต ทำให้บริษัทชั้นนำจากประเทศในกลุ่มนี้ที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศอื่นๆ รวมทั้งลงทุนในไทยก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เช่นกัน หากมีการประกาศเป้าหมายและมีนโยบายที่ชัดเจนที่จะผลักดันเรื่องนี้จะช่วยส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยให้เติบโตได้มากขึ้น 

ทั้งนี้มีหลายๆนโยบายเริ่มมีการขับเคลื่อนไปสู่นโยบายดังกล่าว เช่น นโยบายการเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของภูมิภาค นโยบายเศรษฐกิจชีวภาพโดยใช้โมเดล BCG ที่เน้นเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว รวมทั้งการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ทั้งพลังงานหมุนเวียน และพลังงานทดแทน ที่ไม่ได้สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่จะต้องทำควบคู่กันไปเพื่อสนับสนุนให้อุตสาหกรรมด้านอื่นๆที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนธุรกิจ อุตสาหกรรมมีแหล่งพลังงานที่สะอาดใช้อย่างพอเพียง 

การขับเคลื่อนนโยบาย Zero Carbon นั้นจึงมีความสำคัญต่อทิศทางการพัฒนาประเทศหลังโควิด รวมทั้งเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการลงทุนของประเทศไทย สามารถสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ มีการสร้างงาน อาชีพใหม่ เป็นแนวทางที่จะสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศได้ในอนาคต