ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าต่อเนื่อง หลังดัชนียอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น สวนทางกว่าที่คาดการณ์

Chigaru

  • *****
  • 2337
    • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันจันทร์ที่ 18  ตุลาคม 2564 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (18/10) ที่ระดับ 33.40/42 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (15/10) ที่ระดับ 33.30/32 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์สหรัฐยังคงแข็งค่า หลังกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือน ก.ย. สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าลดลง 0.2% หลังจากดีดตัวขึ้น 0.9% ในเดือน ส.ค. นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคานำเข้าเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือน ก.ย. เมื่อเทียบรายเดือน ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.6% หลังจากลดลง 0.3% ในเดือน ส.ค. การปรับตัวขึ้นของดัชนีราคานำเข้าในเดือน ก.ย.ได้แรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและพลังงาน เมื่อเทียบรายปี ดัชนีราคานำเข้าพุ่งขึ้น 9.2% ในเดือน ก.ย. หลังจากดีดตัวขึ้น 8.9% ในเดือน ส.ค. ส่วนดัชนีราคานำเข้าพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมหมวดอาหารและพลังงาน ลดลง 0.1% ในเดือน ก.ย. หลังจากลดลง 0.1% เช่นกันในเดือน ส.ค. เมื่อเทียบรายปี ดัชนีราคานำเข้าพื้นฐานดีดตัวขึ้น 4.7% ในเดือน ก.ย. นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐยังเปิดเผยว่า ดัชนีราคาส่งออกเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือน ก.ย. เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือน ส.ค. เมื่อเทียบรายปี ดัชนีราคาส่งออกเพิ่มขึ้น 16.3% หลังจากพุ่งขึ้น 16.8% ในเดือน ส.ค.โดยระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 33.42–33.48 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 33.46/48 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร ค่าเงินยูโรเปิดตลาดเช้าวันนี้ (18/10) ที่ระดับ 1.1590/92 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (15/10) ที่ระดับ 1.1603/05 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ค่าเงินยูโรยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่า ตามการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินยูโรยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ โดยนักลงทุนจับตาดูอัตราเงินเฟ้อเดือนกันยายนของยูโรโซน รวมถึงดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของฝรั่งเศส เยอรมนี และยูโรโซนที่จะเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.1571–1.1605 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.1580/82 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร


สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยน ค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (31/3) ที่ระดับ 110.65/67 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดในวันอังคาร (30/3) ที่ระดับ 110.25/27 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินเยนปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ หลังธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีแนวโน้มปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในปีงบการเงินปัจจุบัน หลังการปิดโรงงานหลายแห่งในเอเชียได้ส่งผลให้เกิดภาวะอุปทานตึงตัว ซึ่งกระทบต่อภาคการผลิตและการส่งออก ทำให้นักลงทุนลดการถือครองสกุลเงินเยนลงในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 114.01-114.46 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 114.38/40 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ


ดัชนีสำคัญทางเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ย.สหรัฐ (18/10), ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือน ต.ค.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) สหรัฐ (18/10), การเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือน ก.ย. (19/10), อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ย.ยูโรโซน (20/10), ดัชนีการผลิตเดือน ต.ค.จากเฟดฟิลาเดลเฟียสหรัฐ  และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์สหรัฐ (21/10), ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้นเดือน ต.ค.จากมาร์กิต ของฝรั่งเศส, เยอรมนี และยูโรโซน (22/10), ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นต้นเดือน ต.ค.จากมาร์กิต ของสหรัฐ (22/10)

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่  0.80/1.00 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยง ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ +2.00/+3.50 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ