ชีวิต 'มนุษย์ออฟฟิศ' ยุค Work From Home ดัน 'ไอเทมเพื่อสุขภาพการทำงาน' โตสวนกระแส

Jessicas

  • *****
  • 2166
    • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     


Work From Home เป็นเหตุ “มนุษย์ออฟฟิศ” ต้องจัดบ้านจัดมุมทำงานเอื้อต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ต้องไม่ลืมว่าแม้จะ Work From Home แต่อาการ Office Syndrome นั้นตามติดไปทุกที่ จึงต้องเลือกหาอุปกรณ์สำนักงานอำนวยความสะดวก ป้องกันอาการบาดเจ็บจากการใช้งานของกล้ามเนื้อ หรือลดการปวดสะสมปวดเรื้อรัง กลายเป็นปัจจัยหนุนให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องโตสวนกระแสโควิด-19  

Work From Home จะเวิร์กหรือไม่เวิร์กนั้น การปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้มีสุขภาวะที่ดีภายใต้เกณฑ์ของ WELL Building Standard หรือมาตรฐานการออกแบบอาคารที่คำนึงถึงสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อยู่อาศัยเป็นสิ่งที่ต้องคำนึง

แนวทางการปรับปรุงที่พักอาศัยให้เหมาะกับการทำงานที่บ้าน ตามเกณฑ์ของ WELL ต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเป็นหลัก แต่ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณมากมาย เน้นเรื่องการออกแบบทิศทางของแสงและลมเป็นหลัก

ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LPN Wisdom : LWS) บริษัทวิจัยและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือบริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) จำแนกแนวทางการปรับปรุงตามเกณฑ์ของ WELL เช่น

1. การเลือกมุมทำงานในพื้นที่ที่แสงธรรมชาติสามารถส่องเข้าถึงได้ เพื่อลดการใช้แสงจากหลอดไฟ ถ้าในที่พักอาศัยมีแสงธรรมชาติไม่เพียงพอจำเป็นต้องใช้แสงไฟจากดองโคม ควรเลือกหลอดไฟที่มีความคล้ายคลึงกับแสงอาทิตย์ เพื่อให้เกิดความสบายตาในการทำงาน และมีคุณภาพของสีที่ตรงกับความเป็นจริง และต้องทำการจัดตำแหน่งโคมไฟให้เหมาะสม ไม่ทำให้เกิดเงาและแสงสะท้อนบนหน้าจอเนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการปวดตา และส่งผลเสียต่อดวงตาในระยะยาวได้ คุณภาพแสงที่ดีจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานและคุณภาพการนอนหลับให้ดีขึ้นได้อีกด้วย

2. พื้นที่ทำงานควรมีอากาศที่ถ่ายเทได้อย่างสะดวก มีคุณภาพอากาศที่ดี ในห้องหรือในพื้นที่ทำงานภายในที่อยู่อาศัย ควรมีอากาศถ่ายเทไม่ควรเป็นพื้นที่ปิดที่จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศตลอดเวลา เนื่องจากการทำงานในพื้นที่ที่อากาศไม่ถ่ายเทหรือต้องเปิดเครื่องปรับอากาศตลอดเวลา อาจจะกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อรา ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคทางเดินหายใจได้

3. เลือกใช้อุปกรณ์สำนักงานที่ออกแบบตามหลักสรีระศาสตร์ (Ergonomic Design) การทำงานที่บ้านควรเลือกใช้โต๊ะและเก้าอี้ทำงานที่เป็นไปตามหลักสรีระศาสตร์ เพื่อลดความเสี่ยงของการเป็น Office Syndrome จากการนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมง ในขณะเดียวกันควรปรับตำแหน่งอุปกรณ์สำนักงานให้สอดคล้องกับกระบวนการทำงาน อาทิ ตำแหน่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ หน้าจอคอมพิวเตอร์ควรสามารถปรับระดับได้ตามความต้องการของผู้ใช้งานให้ขอบบนของหน้าจอควรอยู่ระดับสายตาพอดีหรือต่ำกว่าระดับสายตาเล็กน้อย

หรือทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หากใช้ Labtop ควรต่อจอมอนิเตอร์แยก และจัดให้มีชุดคีย์บอร์ด, เม้าส์ต่างหาก จะได้ไม่ต้องก้มลง หรือเกร็งกล้ามเนื้อเพื่อใช้ Trackpad ที่ติดมากับตัวเครื่อง, ความสูงของโต๊ะทำงาน โต๊ะทำงานควรจะปรับระดับได้ตามสรีระของผู้ใช้งาน ทั้งการนั่ง หรือการยืนทำงาน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ทำงานขยับร่างกายมากขึ้น ไม่ต้องนั่งอยู่ในท่าเดียวกันเป็นเวลานาน, เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้ที่ใช้ทำงานควรมีที่พิงหลัง ที่วางแขน สามารถปรับระดับความสูงได้ตามความเหมาะสม โดยให้ที่วางแขนอยู่ในระนาบเดียวกับขอบโต๊ะ เพื่อให้สามารถรองรับแขนและข้อมือได้ โดยไม่รู้สึกเมื่อยช่วงไหล่

 หัวใจสำคัญของการปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้มีสุขภาวะที่ดีภายใต้เกณฑ์ของ WELL Building Standard คือ ชีวิตการทำงานที่ดีต้องมี Work Life Balance เมื่อปรับปรุงพื้นที่ได้เหมาะสมจะเป็นประโยชน์ในการทำงาน พักผ่อน ให้การอยู่อาศัยมีสุขภาวะที่ดีท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาดในปัจจุบัน 

โดยเฉพาะ Ergonomic Gadgets ไอเทมเพื่อสุขภาพตามหลักหลักการยศาสตร์ เพราะเป็นการลงทุนกับสุขภาพในระยะยาว เนื่องจากชาวออฟฟิศส่วนใหญ่นั่งทำงานกันเป็นเวลานาน เกิดพฤติกรรมซ้ำๆ เช่น นั่งหลังค่อม ห่อไหล่ คอยื่น จ้องคอมนานๆ ด้วยสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลัง คอ บ่า ไหล่ มีอาการ Office Syndrome ปวดเรื้อรังจนส่งผลให้คุณภาพชีวิตตกต่ำ

Ergonomic Gadgets กลายเป็นอุปกรณ์ที่คนทำงานให้ความสนใจ เช่น โต๊ะยืนทำงาน โต๊ะปรับระดับ ที่ออกแบบเพื่อสุขภาพเนื่องจากการนั่งทำงานอาจเป็นสาเหตุหลักๆ อย่าง Office Syndrome โต๊ะปรับระดับสามารถเปลี่ยนอิริยาบถการทำงานจากนั่งมายืนทำงาน ป้องกันอาการบาดเจ็บจากการใช้งานของกล้ามเนื้อใช้ท่าเดิมๆ ซ้ำๆ เป็นเวลานาน หรือเก้าอี้ที่ออกแบบมาเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะ ตามหลักสรีระศาสตร์ของมนุษย์ รองรับการนั่งระยะเวลานานเพื่อลดการบาดเจ็บของร่างกาย เป็นต้น

ในภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องพลิกวิกฤตโควิดเป็นโอกาส มาตรการทำงานที่บ้าน หรือ Work for Home ทำให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการตกแต่งบ้านให้ถูกใจมากยิ่งขึ้น เริ่มตั้งแต่  บริษัท อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ ILM เปิดเผยว่า ผลประกอบการไตรมาส 2 ปีนี้ บริษัทฯ มีรายได้รวม 2,048.5 ล้านบาท เติบโต 10.6% และมีกำไรสุทธิ 101.0 ล้านบาท เติบโต 596.7% ขณะที่ผลประกอบการรอบ 6 เดือน ปี 2564 รายได้รวม 4,195.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.8% และกำไรสุทธิ 246.4 ล้านบาท เติบโต 85.7% โดยผลการดำเนินงานฟื้นตัวโดดเด่นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่ บริษัท อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค จำกัด (มหาชน) (ECF)  ผู้ผลิตและจำหน่าย เฟอร์นิเจอร์ไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา เผยว่าวิกฤตโควิด-19 เป็นโอกาสให้กับผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ เนื่องจากประชาชนจะใช้เวลาอยู่กับบ้านและที่อยู่อาศัยมากขึ้น เกิดความคิดที่ต้องการจะปรับปรุงการตกแต่งบ้านให้มีความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายและน่าอยู่มากขึ้น จากแนวโน้มการทำงานจากที่บ้าน หรือ Work from home เป็นโอกาสให้ผลิตภัณฑ์ ประเภท โต๊ะทำงาน โต๊ะประชุม ชั้นวางของ รวมถึงชั้นวางเอกสาร จะมีโอกาสจำหน่ายได้มากขึ้น

นอกจากนี้ วิจัยกรุงศรีเผยแนวโน้มธุรกิจอุตสาหกรรม ปี 2564 - 2566 : อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า แม้ปีที่ผ่านมาเกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ แต่อานิสงส์จากกระแสการทำงานที่บ้าน (Work from home) และการเรียนที่บ้าน (Learn from home) ส่งผลให้คนหันมาติดแอร์และเปลี่ยนแอร์ใหม่กันมากขึ้น จะส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าโตขึ้น เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ปีที่ผ่านมาตลาดแอร์ในบ้านในประเทศไทยติดลบ 10% ปี 2562 มูลค่าตลาด 23,242 ล้านบาท ปี 2563 มูลค่าตลาดลดลงไปอยู่ที่ 20,900 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม แอลจี อีเลคทรอนิกส์ (ประเทศไทย) คาดการณ์ว่าปี 2564 ตลาดแอร์ภายในบ้านจะกลับมาด้วยปัจจัยที่กล่าวมา จะหนุนมูลค่าตลาดให้โตขึ้น 23,990 ล้านบาท เติบโต 10%

 ในวิกฤตโควิด-19 ยังมีอีกหลากธุรกิจที่โตสวนกระแส งานนี้ Work From Home เป็นเหตุ สังเกตุได้.