กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยหลังจับมือ Shopee – Lazada


     


กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยความสำเร็จโครงการติดปีกธุรกิจออนไลน์สร้างรายได้ฝ่าโควิด-19 ผ่านกิจกรรม 1 ร้าน 1 live หลังจับมือ Shopee และ Lazada ติวเข้มกลยุทธ์ สร้างธุรกิจให้อยู่รอด พร้อมเพิ่มทักษะดันยอดขายให้ปังบนโลกออนไลน์ให้กับผู้ประกอบการซื้อหวยออนไลน์สินค้าชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 ราย โดยจัดให้มีการไลฟ์สดขายสินค้า ส่งผลให้ยอดขายผู้ประกอบการสินค้าชุมชนโตขึ้น 10 % พร้อมเพิ่มยอดการเข้าถึงและมองเห็นถึง 237% รวมมียอดผู้เข้าชมระหว่างการไลฟ์สดกว่า1 หมื่นราย นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับผู้ประกอบการท้องถิ่นที่จะก้าวสู่การเป็นผู้ค้าออนไลน์มืออาชีพ

นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า โครงการติดปีกธุรกิจออนไลน์สร้างรายได้ฝ่าวิกฤตโควิด-19 ด้วยกิจกรรม ‘1 ร้าน 1 Live’ ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ร่วมมือกับ Shopee และ Lazada แพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้าออนไลน์ชั้นนำของไทย เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการมีช่องทางการขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ โดยจัดหาผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เฉพาะด้านมาถ่ายทอดประสบการณ์ นำจุดอ่อน-จุดแข็งของธุรกิจมาทำการวิเคราะห์เพื่อวางแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการด้านการตลาด ก่อนติวเข้มและเสริมแกร่งผู้ประกอบการให้สามารถขยายตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างมืออาชีพ

รวมทั้งจัดกิจกรรมการถ่ายทอดประสบการณ์จากกูรูด้านการตลาดออนไลน์เพื่อเพิ่มยอดขายให้แก่ผู้ประกอบการ เช่น เทคนิคการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายผ่านการให้ส่วนลด เทคนิคการไลฟ์สดขายสินค้า เทคนิคการเพิ่มการมองเห็นให้กับร้านค้า เคล็ดลับขายสินค้าอย่างไรให้ยอดพุ่ง และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 ร้าน จัดกิจกรรมไลฟ์สดขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มของ Shopee และ Lazada แบ่งเป็น ไลฟ์สดขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มของ Shopee : Shopee Live จำนวน 57 ร้านค้า และผ่านแพลตฟอร์มของ Lazada : Laz Live จำนวน 43 ร้านค้า โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทบริโภค เช่น น้ำมะม่วงหาวมะนาวโห่ กระยาสารท ข้าวกล้องอบกรอบ มะม่วงหิมพานต์เผา ฯลฯ

นอกจากนี้ ทั้ง 2 แพลตฟอร์มยังช่วยทำโปรโมชั่นและประชาสัมพันธ์การขายสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการฯ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและมองเห็นร้านค้าออนไลน์ เป็นการกระตุ้นและสร้างการรับรู้ร้านค้ามากขึ้น โดยกิจกรรม ‘1 ร้าน 1 Live’ มีผู้เข้าชมสินค้าของผู้ประกอบการฯ รวมกว่า 10,000 วิว ในระยะเวลา 1 เดือน เพิ่มขึ้นกว่า 237 % และมียอดขายโดยรวมเพิ่มขึ้น 10% นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับผู้ประกอบการท้องถิ่นที่จะใช้วิธีการไลฟ์สดมาเพื่อเพิ่มยอดขายสินค้า และเป็นก้าวสำคัญที่จะพัฒนาสู่การเป็นผู้ค้าออนไลน์มืออาชีพ

นางสาวสกาวเดือน วงศ์ตระกูล ผู้บริหารบริษัท ช้อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัดกล่าวว่า ผลสำเร็จของโครงการติดปีกธุรกิจออนไลน์สร้างรายได้ฝ่าโควิด-19 ในครั้งนี้ ทางบริษัทฯ ได้จัดหลักสูตรเพื่อติวเข้มให้ความรู้แบบหมดเปลือกกับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ แนะวิธี หรือเทคนิคการนำสินค้าไปฝากที่แพลตฟอร์มของ Shopee จะต้องทำอย่างไร หรือทำยังไงให้สินค้าเป็นที่สนใจของผู้ซื้อ และร่วมไลฟ์สดผ่านกิจกรรมส่งเสริมการขาย เพื่อสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน

นายวีระพงศ์ โก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) กล่าวว่า ความร่วมมือกันในครั้งนี้ เริ่มจากภาครัฐเห็นถึงผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้างกับประชาชน รวมถึงผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ที่ไม่สามารถจำหน่ายสินค้าได้ ทำให้ขาดรายได้ ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม ซึ่งช่องทางอี-คอมเมิร์ซ นับเป็นช่องทางการตลาดที่สามารถช่วยกู้วิกฤตให้ผู้ประกอบการได้ เพราะเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและตรงกลุ่มเป้าหมาย โดยมี Lazada เป็นแพลตฟอร์มกลางเพื่อเชื่อมต่อผู้ซื้อกับผู้ขาย และกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภค ทั้งนี้ ยังจัดทำแคมเปญสนับสนุนด้านการตลาด เช่น จัดทำคูปองส่งฟรี รวมถึงการประชาสัมพันธ์สินค้าให้เป็นที่รู้จัก และสร้างการยอมรับในกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น

ทั้งนี้จากผลสำรวจโครงการ Thailand Digital Outlook ระยะที่ 3 ของสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส) เมื่อวันที่ 2 ก.ย. 2564 ที่ผ่านมา รายงานว่า ประชาชนยอมรับและเชื่อถือการใช้ e-Commerce มากขึ้น โดยประชาชนมีการซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์สูงขึ้น โดยเพิ่มขึ้นจาก 37.7% เป็น 76.6% และประเทศไทยมีมูลค่าการชําระเงินออนไลน์ผ่าน Mobile Banking สูงที่สุดในโลก ปัจจุบันคนไทยมีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 6 - 10 ชั่วโมงต่อวัน ในกิจกรรมอาทิ การทํางาน ความบันเทิง และ ซื้อ-ขายออนไลน์ โดยพบว่า ใช้เพื่อการทํางาน เช่น ประชุมออนไลน์ จากนโยบาย Work from Home คิดเป็น 75.2 %การเรียนออนไลน์ คิดเป็น 71.1 % ซื้อสินค้าออนไลน์ คิดเป็น 67.4% และเพื่อการติดต่อสื่อสารสนทนา 65.1% และ การทําธุรกรรมด้านการเงินออนไลน์ 54.7 %