กรุงศรีขับเคลื่อนสู่ 'ธนาคารแห่งภูมิภาค' ตั้งเป้าดันสัดส่วนกำไรจากต่างประเทศ

Shopd2

  • *****
  • 2893
    • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     


นายไพโรจน์ ชื่นครุฑ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกลยุทธ์และวางแผนธุรกิจองค์กร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (BAY) กล่าวว่า กรุงศรีเดินหน้าขยายธุรกิจสู่ระดับภูมิภาคอาเซียนมาอย่างต่อเนื่องในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา เพื่อวางรากฐานของการเป็นธนาคารแห่งภูมิภาคให้แข็งแกร่ง ทำให้ปัจจุบันกรุงศรีมีเครือข่ายและธุรกิจที่ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาค รวมถึงทำให้กรุงศรีสามารถนำพาโอกาสใหม่ๆ ในการขยายธุรกิจและสร้างการเติบโตให้ลูกค้าของกรุงศรีในภูมิภาคอาเซียนด้วยเช่นกัน นอกจากนี้แล้ว กรุงศรียังประสบความสำเร็จในการผลักดันให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินที่ช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจหรือสนับสนุนการทำธุรกรรมระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง และเกิดประโยชน์สูงสุดให้ลูกค้า โดยกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจและสร้างการเติบโตในอาเซียนนี้ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งภายใต้แผนธุรกิจระยะกลางปี 2564-2566 ซึ่งกรุงศรีได้วางเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนกำไรจากต่างประเทศอยู่ที่ 10% ของกำไรสุทธิทั้งหมดภายในปี 2566

'โดยจุดแข็งและถือเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่สำคัญของกรุงศรี คือ การมีมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) หนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดระดับโลก ที่มีเครือข่ายแข็งแกร่งในกว่า 50 ประเทศ เป็นกำลังสำคัญที่ช่วยสนับสนุน ทำให้กรุงศรีเป็นสถาบันการเงินไทยแห่งเดียวที่มีเครือข่ายในอาเซียนมากที่สุด มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และศักยภาพในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ระดับโลก ตอบโจทย์ความต้องการทางการเงินของลูกค้าทั้งในประเทศไทย ในภูมิภาคอาเซียน และในระดับโลกได้เป็นอย่างดี' นายไพโรจน์ กล่าวเพิ่มเติม

ทั้งนี้ ด้วยเครือข่ายและความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจของ MUFG ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศและสร้างโอกาสให้ลูกค้ากรุงศรีขยายธุรกิจในภูมิภาคได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การเปิดโอกาสให้มีการพบปะเจรจาการค้าระหว่างผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการในอาเซียนผ่านเครือข่ายและบริการจับคู่ธุรกิจ (business matching) การเชื่อมต่อโครงข่ายธุรกรรมการชำระเงินระหว่างประเทศ การพัฒนาโซลูชันทางการเงินที่เหมาะสมเพื่อให้การดำเนินธุรกิจในต่างประเทศของลูกค้าเป็นไปอย่างราบรื่น รวมถึงการทำหน้าที่เป็นพันธมิตรที่ให้บริการข้อมูล ความรู้และคำปรึกษาทางการเงินแบบครบวงจร ในส่วนของลูกค้ารายย่อยนั้น กรุงศรีได้มีการพัฒนาระบบธุรกรรมการชำระเงินรองรับความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัลอีกด้วย

ปัจจุบัน กรุงศรีดำเนินธุรกิจและมีเครือข่ายแข็งแกร่งที่ให้บริการครอบคลุม 5 ประเทศในอาเซียนรวมทั้งประเทศไทย ทั้งในรูปแบบสาขา สำนักงานผู้แทน ธนาคารท้องถิ่น ผู้ให้บริการทางการเงินท้องถิ่น ประกอบด้วย สาขาของธนาคารในเวียงจันทน์ ธุรกิจสินเชื่อเพื่อรายย่อย และสถาบันการเงินจุลภาคที่ไม่รับเงินฝาก กรุงศรี จำกัด ใน สปป.ลาว ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศกัมพูชา ธุรกิจสินเชื่อเพื่อรายย่อยในประเทศฟิลิปปินส์ และสำนักงานตัวแทนในพม่า ในส่วนนี้ยังไม่รวมเครือข่ายและธนาคารพันธมิตรของ MUFG และล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กรุงศรีได้บรรลุข้อตกลงกับ Saigon-Hanoi Commercial Joint Stock Bank (SHB) ธนาคารพาณิชย์ร่วมทุนที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ในประเทศเวียดนาม ในการซื้อและรับโอนเงินทุนก่อตั้ง (Charter Lottovip Capital) 100% ของบริษัท SHBank Finance Company Limited (SHB Finance) ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการสินเชื่อเพื่อรายย่อย 10 อันดับแรกของประเทศเวียดนาม ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง

'การขยายธุรกิจต่างประเทศในอนาคตยังคงเดินหน้าต่อไป ส่วนจะเป็นในรูปแบบใดก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม เนื่องจากในบางประเทศไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเป็นการร่วมทุน หรือซื้อกิจการ เนื่องจากมีเครือข่ายของ MUFG ที่สามารถเชื่อมโยงกันได้เพียงพออยู่แล้ว อย่าง บรูไน มาเลย์ ยังไม่มีแผนขยายไป เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมา ผลงานใน 4 ประเทศที่เราขยายไปมีผลการดำเนินงานที่ดี นำโดยที่กัมพูชาที่เพิ่งยกระดับเป็นแบงก์มีสินเชื่อประมาณ 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ เงินฝาก 793 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีจำนวน 177 สาขา และพร้อมที่จะเดินหน้าอัปเกรดเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ครบวงจรมากขึ้น ที่สปป.ลาว มีสาขาธนาคาร 2 แห่ง มีกรุงศรีลีสซิ่งเซอร์วิส มียอดสินเชื่อรวมกว่า 5,000 ล้านบาท มีบัญชีจำนวน 30,000 บัญชี จะพยายามปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์ยิ่งขึ้น ที่ฟิลิปปินส์ มีสินเชื่อประมาณ 6,000 ล้านเปโซ และมีกว่า 300 สาขา ซึ่งนอกจากสิ่งต่างๆ เหล่านี้ที่จะเป็นตัวผลักดินรายได้ให้ธนาคารแล้ว เรายังมีอีกแกนคือ การร่วมกับ MUFG ในการนำพาลูกค้าของเราไปสร้างโอกาสในการลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งทั้ง 2 แกนนี้จะช่วยผลักดันให้เราสามารถดำเนินการตามเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนกำไรจากธุรกิจในต่างประเทศให้เป็น 10% จากปัจจุบันประมาณ 4% ภายในปี 2566'