รัฐบาลเฝ้าระวังโควิดสายพันธุ์มิว ย้ำยังไม่ระบาดในไทย พร้อมดูแลคลัสเตอร์สบเมย

Shopd2

  • *****
  • 2893
    • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     


วันนี้ (6 ก.ย.) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “แจงให้เคลียร์กับทีมโฆษกรัฐบาล” ถึงการเฝ้าระวังโควิด-19 สายพันธุ์มิว ว่า สำหรับข้อกังวลไวรัสสายพันธุ์มิว ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาเปิดเผยแล้วว่า สายพันธุ์มิว เป็นสายพันธุ์ที่น่าจับตามองและต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากพบว่า อาจมีการหลีกหนีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติได้ดีกว่าเดิม และสามารถต้านทานต่อวัคซีนได้ ปัจจุบันค้นพบใน 39 ประเทศ เช่น โคลอมเบีย ญี่ปุ่น เอกวาดอร์ และสหราชอาณาจักร เป็นต้น ซึ่งไวรัสสายพันธุ์นี้เริ่มระบาดในโคลอมเบีย แล้วก็กำลังระบาดหนักในประเทศต้นทาง แต่ยังไม่ได้รับรายงานว่ามีการระบาดจากเชื้อสายพันธุ์นี้ในประเทศไทย

น.ส.ไตรศุลี กล่าวต่อว่า สำหรับการสุ่มตรวจผู้ติดเชื้อในประเทศไทย พบว่า 93 เปอร์เซ็นต์ เป็นสายพันธุ์เดลตา 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นสายพันธุ์อัลฟา และ 2 เปอร์เซ็นต์ เป็นสายพันธุ์เบต้า แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่พบการระบาดเชื้อสายพันธุ์มิว ในประเทศไทย ทางกระทรวงสาธารณสุขก็ไม่ประมาทและมีมาตรการเฝ้าป้องกัน ซึ่งมาตรการที่ต้องทำ คือ วิธีป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ขั้นสูงสุด เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัย และการเว้นระยะห่าง เป็นต้น

น.ส.ไตรศุลี ยังกล่าวถึงการบริจาควัคซีน ว่า ทั้งนี้ ต้องขอขอบคุณรัฐบาลญี่ปุ่น ที่ได้ส่งมอบวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เพิ่มให้ไทยอีกจำนวน 300,000 โดส โดยจะถึงประเทศไทยในวันที่ 8 ก.ย.นี้ รวมยอดที่รัฐบาลญี่ปุ่นมอบวัคซีนให้ไทย คือ 1,350,000 โดส.

ด้าน น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “แจงให้เคลียร์กับทีมโฆษกรัฐบาล” ถึงกรณีการติดเชื้อโควิด-19 ในชุมชนชายแดนไทย-เมียนมา อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ว่า สถานการณ์ที่บริเวณดังกล่าวทางสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอนไม่ได้นิ่งนอนใจ เนื่องจากทราบว่ามีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในหมู่บ้านที่สบเมยเพิ่มขึ้น จึงได้รีบเข้าไปดูแลเบื้องต้น โดยนำถุงยังชีพสิ่งของอุปโภคบริโภคและอุปกรณ์ทางการแพทย์ บรรทุกใส่เรือหางยาวไปมอบให้กับประชาชนในบริเวณดังกล่าว เมื่อพบว่ามีผู้ติดเชื้อก็ได้แยกกักกันตัวแบบแยกกับตัวที่บ้าน (โฮมไอโซเรชั่น)

น.ส.รัชดา กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน ทีมควบคุมโรคก็ได้ออกตรวจคัดกรองเชิงรุก เพื่อคัดแยกกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในชุมชนออกมา และค้นหาผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม หากใครไม่สามารถแยกกักแบบแยกกักตัวที่บ้าน (โฮมไอโซเรชั่น) ได้ โดยทางสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอนก็ได้เตรียมการกักตัวในชุมชน (คอมมูนิตี้ไอโซเรชั่น) เพื่อดูแลประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวด้วย และมีการติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากมีความคืบหน้าจะได้นำมาแถลงให้รับทราบต่อไป
URL
 295