รู้จัก LockBit แรนซัมแวร์ ABCD ตัวร้ายที่โจมตีสายการบินในไทย

Cindy700

  • *****
  • 1849
    • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     


ตามติดแรนซัมแวร์ LockBit ที่ถูกค้นพบในเดือนกันยายน 2019 พบหลายองค์กรตกเป็นเหยื่อ ตั้งแต่องค์กรในสหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ยูเครน นอกจากนี้ยังพบการโจมตีในหลายประเทศทั่วยุโรป ทั้งฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และเยอรมนี

นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่าไม่นานนี้เราเพิ่งได้เห็นภัยคุกคามไซเบอร์ที่โจมตีบริษัทประกันภัยขนาดใหญ่ในประเทศไทย รูปแบบภัยคุกคามทางไซเบอร์มีเป้าหมายและมีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้มีขอบเขตการโจมตีที่รุนแรงมากขึ้นอีก โดยเมื่อเร็วๆ นี้ สายการบินชั้นนำของประเทศไทยรายหนึ่งได้ประกาศเหตุการณ์การละเมิดข้อมูลต่อสาธารณะ

“ทั้งหมดนี้เกิดพร้อมกับที่กลุ่มแรนซัมแวร์ LockBit ได้ประกาศผลงานร้ายและอ้างว่าจะเปิดเผยไฟล์ข้อมูลบีบอัดขนาด 103 GB”

แรนซัมแวร์ LockBit ถูกค้นพบในเดือนกันยายน 2019 ซึ่งเดิมมีชื่อว่าแรนซัมแวร์ “ABCD” ออกแบบมาเพื่อบล็อกการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์เพื่อแลกกับค่าไถ่ อาชญากรไซเบอร์ปรับใช้แรนซัมแวร์นี้บนตัวควบคุมโดเมนของเหยื่อ จากนั้นจะแพร่กระจายการติดเชื้อโดยอัตโนมัติ และเข้ารหัสระบบคอมพิวเตอร์ที่เข้าถึงได้ทั้งหมดบนเครือข่าย แรนซัมแวร์นี้ใช้ในการโจมตีที่กำหนดเป้าหมายประเภทเอ็นเทอร์ไพรซ์และองค์กรอื่นๆ เป้าหมายในอดีตที่โดดเด่น ได้แก่ องค์กรในสหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ยูเครน นอกจากนี้ยังพบการโจมตีในหลายประเทศทั่วยุโรป (ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร เยอรมนี)

LockBit 2.0 และการแพร่กระจาย

LockBit ดำเนินการในรูปแบบ Ransomware as a Service (RaaS) ซึ่งให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและมัลแวร์แก่ผู้โจมตี และรับส่วนแบ่งค่าไถ่ การบุกเข้าไปในเครือข่ายของเหยื่อเป็นหน้าที่ของผู้รับเหมา LockBit มีเทคโนโลยีที่โดดเด่นและสามารถแพร่กระจายแรนซัมแวร์ได้ทั่วทั้งเครือข่าย

เมื่อผู้โจมตีเข้าถึงเครือข่ายและตัวควบคุมโดเมนได้ก็จะเรียกใช้งานมัลแวร์เพื่อสร้างนโยบายกลุ่มใหม่สำหรับผู้ใช้ ซึ่งจะถูกส่งต่อไปยังอุปกรณ์แต่ละเครื่องบนเครือข่ายโดยอัตโนมัติ นโยบายนี้จะปิดใช้งานเทคโนโลยีความปลอดภัยในตัวของระบบปฏิบัติการก่อน จากนั้นนโยบายอื่นๆ จะสร้างงานที่กำหนดไว้แล้วบนเครื่อง Windows ทั้งหมดเพื่อเรียกใช้โปรแกรมเรียกค่าไถ่

การลบและถอดรหัส LockBit

ด้วยปัญหาทั้งหมดที่ LockBit สร้างขึ้น อุปกรณ์เอ็นด์พอยต์จำเป็นต้องมีมาตรฐานการป้องกันที่ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร ขั้นแรกคือการมีโซลูชันการรักษาความปลอดภัยเอ็นด์พอยต์ที่ครอบคลุม เช่น Kaspersky Endpoint Security for Business



หากองค์กรของคุณติดเชื้อเรียบร้อยแล้ว การลบแรนซัมแวร์ LockBit เพียงอย่างเดียวไม่ได้ทำให้คุณเข้าถึงไฟล์ได้ คุณจะต้องใช้เครื่องมือในการกู้คืนระบบ เนื่องจากการเข้ารหัสต้องใช้ “กุญแจ” เพื่อปลดล็อก อีกวิธีหนึ่ง หากคุณได้สร้างอิมเมจสำรองไว้ก่อนการติดเชื้อ คุณอาจสามารถกู้คืนระบบได้โดยการรีอิมเมจ

วิธีป้องกันแรนซัมแวร์ LockBit

คุณจะต้องตั้งค่ามาตรการป้องกันเพื่อให้องค์กรของคุณสามารถเตรียมการและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากแรนซัมแวร์หรือการโจมตีอื่นที่เป็นอันตราย

แนวทางปฏิบัติบางประการที่สามารถช่วยในการเตรียมตัว มีตั้งแต่การห้ามการเชื่อมต่อที่ไม่จำเป็นกับบริการเดสก์ท็อประยะไกล (เช่น RDP) จากเครือข่ายสาธารณะ และใช้รหัสผ่านที่คาดเดายากสำหรับบริการดังกล่าวเสมอ การติดตั้งแพตช์ที่มีทั้งหมดสำหรับโซลูชั่น VPN ที่ใช้เพื่อเชื่อมต่อผู้ที่ปฏิบัติงานระยะไกลเข้ากับเครือข่ายขององค์กร การอัปเดตซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อทั้งหมด เพื่อป้องกันการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ และการเน้นกลยุทธ์การป้องกันในการตรวจจับโดยรอบเครือข่ายและการขุดเจาะขโมยข้อมูล โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการรับส่งข้อมูลขาออกทั้งหมด

นอกจากนี้ยังควรสำรองข้อมูลเป็นประจำ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ใช้งานพร้อมที่จะเข้าถึงข้อมูลสำรองในกรณีฉุกเฉิน ขณะเดียวกันก็ควรใช้ประโยชน์จากคลังข้อมูลภัยคุกคาม (threat intelligence) เพื่อมีข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับกลยุทธ์การโจมตีเทคนิคและขั้นตอนต่างๆ อยู่เสมอ โดยไม่ลืมใช้โซลูชั่นด้านความปลอดภัย เช่น Kaspersky Endpoint Detection and Response และ Kaspersky Managed Detection and Response ที่ช่วยหยุดการโจมตีได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ร่วมกับการฝึกอบรมพนักงานให้คำนึงถึงความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมขององค์กร Kaspersky Automated Security Awareness Platform และใช้โซลูชั่นที่เชื่อถือได้สำหรับการป้องกันเอ็นด์พอยต์ ซึ่งป้องกันการใช้ประโยชน์และตรวจจับพฤติกรรมที่ผิดปกติ สามารถย้อนการเปลี่ยนแปลงที่เป็นอันตรายและเรียกคืนระบบได้ .