น้ำมัน ทองคำลงเล็กน้อย หุ้นสหรัฐฯ ปิดบวกได้แรงหนุนจากบริษัทเทคโนโลยี

Fern751

  • *****
  • 2163
    • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     


ราคาน้ำมันปรับลดในวันพฤหัสบดี (12 ส.ค.) หลังทบวงพลังงานสากล (ไออีเอ) ระบุการแพร่ระบาดของตัวกลายพันธุ์เดลตาจะทำให้การฟื้นตัวของอุปสงค์พลังงานโลกฟื้นตัว ส่วนวอลล์สตรีทปิดบวกได้แรงหนุนจากหุ้นเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ ขณะที่ทองคำขยับลงเล็กน้อย

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส อินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนกันยายน ลดลง 16 เซนต์ ปิดที่ 69.09 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ด้านเบรนต์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนตุลาคม ลดลง 13 เซนต์ ปิดที่ 71.31 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

ทบวงพลังงานสากลระบุในรายงานประจำเดือนว่า อุปสงค์น้ำมันที่เคยฟื้นตัวได้เปลี่ยนเส้นทางแล้วในเดือนกรกฎาคม และคาดหมายว่าจะชะลอตัวไปมากกว่านี้ในช่วงที่เวลาที่เหลือของปี หลังจากการแพร่ระบาดระลอกล่าสุดของโควิด-19 กระตุ้นให้ประเทศต่างๆ กลับมากำหนดข้อจำกัดอีกครั้ง

อีไอเอระบุว่า อุปสงค์ทางพลังงานในเดือนที่แล้วลดลง 120,000 บาร์เรลต่อวัน และปรับลดคาดการณ์อุปสงค์ทางพลังงานในช่วงครึ่งปีหลังลงอีก 500,000 บาร์เรลต่อวัน จากที่เคยประมาณการไว้เมื่อเดือนที่แล้ว ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดบวกในวันพฤหัสบดี (12 ส.ค.) ดาวโจนส์และเอสแอนด์พี 500 ทุบสถิติสูงสุดเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน ได้แรงหนุนจากหุ้นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ทั้งหลาย

ดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 14.88 จุด (0.04 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 35,499.85 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 13.13 จุด (0.30 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,460.83 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 51.13 จุด (0.35 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 14,816.26 จุด

แอปเปิลอิงค์ ไมโครซอฟท์ แอมะซอนดอทคอม อัลฟาเบทซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล และเฟซบุ๊ก ซึ่งมีมูลค่าตลาดคิดเป็นราวๆ 1 ใน 4 ของเอสแอนด์พี 500 เป็นแกนนำเอสแอนด์พี 500 และแนสแดค เคลื่อนไหวในแดนบวก ในขณะที่ดาวโจนส์ แกว่งตัวขึ้นมาทุบสถิติสูงสุดในช่วงท้ายของการซื้อขาย

นอกจากนี้แล้วตลาดยังได้แรงหนุนจากความเคลื่อนไหวในแดนบวกของหุ้นบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง เทสลาอิงค์ เอ็นวิเดียคอร์ป และโมเดอร์นาอิงค์ แม้หุ้นส่วนใหญ่ในตลาดจะปรับลดมากกว่าปิดบวก

ส่วนราคาทองคำในวันพฤหัสบดี (12 ส.ค.) ปิดลบเล็กน้อย หนึ่งวันหลังจากพุ่งแรงมากที่สุดในรอบ 2 สัปดาห์ โดยราคาทองคำโคเม็กซ์งวดส่งมอบเดือนธันวาคม ลดลง 1.50 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,751.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์

(ที่มา : รอยเตอร์)