ญี่ปุ่น นำร่องชาวเอเชีย! ออกกฎหมายควบคุมการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว

dsmol19

  • *****
  • 2408
    • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     


หลังจากทางการญี่ปุ่นได้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์เมื่อปลายปี พ.ศ.2562 ส่งผลให้ร้านสะดวกซื้อและร้านค้าปลีกทั่วประเทศต้องงดแจกถุงพลาสติกฟรีให้ลูกค้า ซึ่งถือว่าเป็นการให้ชิมลาง เพื่อให้มีการปรับพฤติกรรมในการใช้ถุงและบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use Plasstic) 

ก่อนที่จะมาเล่นบทโหด โดยการออกกฎหมายบังคับ 1 เมษายน 2565 เมื่อเวลาผ่านไปราว 2 ปี

จากการสำรวจของรัฐบาลญี่ปุ่น พบว่า หลังจากที่กฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ (มิถุนายน 2563 เป็นต้นมา) พบว่า ปริมาณการใช้ถุงพลาสติกลดลงอย่างมาก โดยผู้บริโภค 7 ใน 10 คนที่มาร้านสะดวกซื้อจะไม่ซื้อถุงพลาสติก แต่มีการพกพาถุงผ้า หรือนำถุงพลาสติกกลับมาใช้ซ้ำ หรือถือของไปเอง ซึ่งมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากอัตรา 2 ใน 10 คนในช่วงก่อนที่จะมีมาตรการทางกฎหมาย สำหรับอัตราค่าถุงพลาสติกที่ทางร้านจำหน่ายให้กับลูกค้านั้น โดยทั่วไปอยู่ระหว่างใบละ 3-10 เยน หรือราว 0.9-3.1 บาท

มาปีนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังเตรียมก้าวไปอีกขั้น คือ การยกร่างกฎหมายเพื่อควบคุมการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวเป็นการเฉพาะ เนื่องจากญี่ปุ่นมีการใช้พลาสติกในปริมาณมหาศาลถึงเกือบ 10 ล้านตันต่อปี และในจำนวนนี้ ประมาณ 1 แสนตันเป็นช้อนส้อมพลาสติกและหลอดพลาสติก

ในเบื้องต้น ได้กำหนดพลาสติก 12 ชนิดที่จะให้องค์กรธุรกิจและประชาชนลดละเลิกใช้ ได้แก่ ช้อนส้อมมีดพลาสติก หลอดพลาสติก แปรงสีฟัน หวีและพลาสติกคลุมผมอาบน้ำ (shower cap) ซึ่งมีการแจกและใช้แบบครั้งเดียวทิ้งในปริมาณมากในกลุ่มโรงแรม กฎหมายจะกำหนดให้ร้านค้าปลีก ร้านอาหาร โรงแรม ร้านซักรีด ที่มีการใช้พลาสติกเหล่านี้มากกว่า 5 ตันต่อปีจะต้องลดปริมาณการใช้ลง โดยเปลี่ยนไปใช้วัสดุทางเลือกที่ย่อยสลายได้ เช่น กระดาษ ไม้ หรือพลาสติกที่ย่อยสลายได้ที่ได้รับการรับรอง หรือหากยังต้องการใช้พลาสติก ก็ต้องห้ามแจกฟรีให้กับลูกค้า หากองค์กรธุรกิจใดไม่ปฏิบัติตาม อาจมีโทษปรับสูงสุดถึง 5 แสนเยน หรือราว 1.5 แสนบาท

ผู้ค้าปลีกและร้านอาหารในญี่ปุ่นจะต้องลดการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง 12 ชนิดภายใต้กฎหมายใหม่ (เครดิตภาพ  BLOOMBERG)
ผู้ค้าปลีกและร้านอาหารในญี่ปุ่นจะต้องลดการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง 12 ชนิดภายใต้กฎหมายใหม่ (เครดิตภาพ BLOOMBERG)

สำหรับกฎหมายฉบับใหม่ผ่านโดยสภานิติบัญญัติเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการใช้กระดาษที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพหรือทางเลือกที่ทำจากไม้ในร้านค้าปลีก ร้านอาหาร และโรงแรม ทางลูกค้าจะต้องถูกเรียกเก็บเงินสำหรับภาชนะหรือหลอดพลาสติก แต่ตัวเลือกกระดาษหรือไม้สามารถแจกจ่ายได้ฟรี โดยรายละเอียดปลีกย่อยของกฎหมาย ซึ่งรวมถึงขอบเขตของธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบ มีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคมนี้

ความพยายามในการออกกฎหมายดังกล่าวเป็นผลมาจากแรงกดดันจากนานาชาติในเรื่องการแก้ปัญหามลพิษพลาสติกซึ่งญี่ปุ่นออกตัวช้ากว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ และที่ผ่านมา ญี่ปุ่นมักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นประเทศที่มีการใช้พลาสติกจำนวนมาก แม้ว่าอัตราการแยกขยะเพื่อรีไซเคิลจะสูงถึง 80% แต่แท้จริงแล้ว เกือบ 60% กลับเป็นการนำพลาสติกไปแปลงเป็นพลังงาน (energy recovery) ซึ่งวิธีการนี้ไม่ช่วยให้ญี่ปุ่นลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ อีกทั้งญี่ปุ่นก็ไม่สามารถส่งออกขยะพลาสติกไปรีไซเคิล หรือกำจัดนอกประเทศได้เหมือนในอดีตที่มักส่งไปจีน ดังนั้น ญี่ปุ่นจึงต้องพยายามลดการผลิตและใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวที่ยากต่อการรีไซเคิลลงซึ่งจะช่วยเรื่องการบรรลุเป้าหมาย Net-Zero ภายในปีค.ศ. 2050 ของประเทศอีกด้วย

ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาเริ่มเห็นการปรับตัวขององค์กรภาคธุรกิจของญี่ปุ่นในการลดการใช้พลาสติกลง เช่น ร้านสะดวกซื้อมีการปรับบรรจุภัณฑ์เพื่อให้สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ทำให้ผู้บริโภคสามารถนำบรรจุภัณฑ์มาคืนและจูงใจโดยให้ส่วนลด สายการบินญี่ปุ่นชื่อดังอย่าง ANA ได้ปรับมาใช้บรรจุภัณฑ์อาหารที่ทำมาจากชานอ้อยตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งสายการบินคาดหวังว่าจะสามารถลดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวได้ถึง 317 ตันต่อปี