10 หุ้นสัมปทานรัฐผลงาน (ราคา) ร้อนแรงสุด ปี 64

fairya

  • *****
  • 1494
    • ดูรายละเอียด
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     

เว็บตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ SET ปรากฎรายชื่อบริษัทจดทะเบียนที่รายงานว่า มีสัมปทานจากรัฐหรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐอันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน ณ วันที่ 1 ต.ค.2564 จำนวน 43 หลักทรัพย์ โดยจะคัดเฉพาะหุ้นที่อยู่ใน SET มีราคาซื้อขายล่าสุดเกิน 1.00 บาทต่อหุ้น และมีผลตอบแทนราคา YTD เกิน 40% ขึ้นไป พบ 10 หลักทรัพย์

1.CMAN (บมจ.เคมีแมน) ผลตอบแทนราคา YTD +94.12% (จากสิ้นปี 63 ปิด 1.36 บาท พุ่งมา 2.64 บาท) ราคาต่ำสุดในปี 1.30 บาท (19 ม.ค.) แล้วไปทำราคาสูงสุด 3.26 บาท (24.มิ.ย.) แล้วย่อลงมาเหลือ 2.64 บาท

CMAN ประกอบธุรกิจผลิตปูนไลม์และผลิตภัณฑ์เคมีต่อเนื่อง สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ โดยจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้า "CHEMEMAN" นายชาย ศรีวิกรม์ แห่งเกษร กรุ๊ป นายกสมาคมผู้ประกอบวิสาหกิจในย่านราชประสงค์ ถือใหญ่สุด 27.90%, น.ส. กรกฎ ศรีวิกรม์ 1.89%, นายชาญ ศรีวิกรม์ 0.96%

CMAN ทำผลงานเด่นไตรมาส 2/63 ขาดทุนสุทธิอยู่ที่ 39.74 ล้านบาท พอไตรมาส 2/64 พลิกกำไรสุทธิ 48.74 ล้านบาท ส่วน 6 เดือนปี 2564 กำไรสุทธิ 105.74 ล้านบาท ช่วงเดียวกันปีก่อนขาดทุนสุทธิ 1.90 ล้านบาท

2.BA (บมจ.การบินกรุงเทพ) ผลตอบแทนราคาYTD +79.69% (จากสิ้นปี 63 ปิด 6.40 บาท พุ่งมา 11.50 บาท) ราคาต่ำสุดในปี 6.10 บาท (4 ม.ค.) แล้วไปทำราคาสูงสุด 13.00 บาท (16 ก.ย.) แล้วย่อลงมาเหลือ11.50บาท

BA ประกอบธุรกิจสายการบิน ธุรกิจสนามบิน และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบิน มีตระกูล "ปราสาททองโอสถ" ถือหุ้นใหญ่สุด 5 คน รวม 58.07%

ด้านบริษัทหลักทรัพย์ FSSIA ระบุในบทวิเคราะห์ BA ราคาเป้าหมาย 16.00 บาท เมื่อตัวบริษัทเปลี่ยนจากผู้ให้บริการสายการบินเป็นผู้ดำเนินการสนามบิน โดยมองว่า หลังจบสัญญาสนามบินสมุย และ Samui Airport Property Fund แล้วนั้น จะทำให้ EBIT ของส่วนที่เกี่ยวข้องกับสนามบินเพิ่มขึ้นเป็น 48% ในปี 2565 และธุรกิจสายการบินจะอยู่ที่ 12%

3.JWD (บมจ. เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์) ผลตอบแทนราคาYTD +78.44% (จากสิ้นปี 63 ปิด 8.35 บาท พุ่งมา 14.90 บาท) ราคาต่ำสุดในปี 8.10 บาท (1 มี.ค.) แล้วไปทำราคาสูงสุด 17.40 บาท (3 ส.ค.) แล้วย่อลงมาเหลือ 14.90 บาท

JWD ประกอบธุรกิจให้บริการทางด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนแบบครบวงจรภายในภูมิภาคอาเซียน นาย ชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา ถือใหญ่สุด 20.95% และมีคนในตระกูล ร่วมถืออีก 3 คน รวม 42.68% 

JWD ได้ร่วมมือกับ MyCloud Fulfillment สตาร์ทอัพไทยผู้ให้บริการคลังสินค้า fulfillment ชั้นนำของไทย สำหรับธุรกิจ e-commerce ให้บริการจัดเก็บ-แพ็คส่งสินค้า โดย JWD ได้ทำสัญญากับ MyCloud Fulfillment เพื่อให้เช่าคลังสินค้า JWD Fulfillment ย่านมีนบุรี ซึ่งเป็นคลังสินค้าใหม่ของ JWD

4.SOLAR (บมจ.บริษัท โซลาร์ตรอน) ผลตอบแทนราคาYTD +74.58% (จากสิ้นปี 63 ปิด 1.18 บาท พุ่งมา 2.06 บาท) ราคาต่ำสุดในปี 1.07 บาท (4 ม.ค.) แล้วไปทำราคาสูงสุด 2.70 บาท(10 ก.ย.) แล้วย่อลงมาเหลือ 2.06 บาท

SOLAR ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบต่าง ๆ ถือหุ้นใหญ้โดย นาย ศึกษิต เพชรอำไพ 11.99% พร้อมมีคนดังอีกหลายคนร่วมถือหุ้นด้วย เช่น นายศรีศักร เดชกิจวิกรม 10.71%, นายวศิน เดชกิจวิกรม 8.55%, นายชูชาติ เพ็ชรอำไพ 5.52%, นายภูผา เตชะณรงค์ 1.84% 

SOLAR ราคาวิ่งสวนงบเน่า ครึ่งปี 64 ขาดทุน 114.94 ล้านบาท ส่วนปี 63 ขาดทุน 123.02 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 2 ปี 64 ขาดทุน 57.49 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนขาดทุน 50.51 ล้านบาท

5.MCOT (บมจ.อสมท) ผลตอบแทนราคาYTD +73.35% (จากสิ้นปี 63 ปิด 4.24 บาท พุ่งมา 7.35 บาท) ราคาต่ำสุดในปี 3.50 บาท (24 ก.พ.) แล้วไปทำราคาสูงสุด 8.45 บาท (15 ก.ย.) แล้วย่อลงมาเหลือ 7.35 บาท

MCOT ประกอบธุรกิจด้านสื่อสารมวลชน ได้แก่ กิจการวิทยุโทรทัศน์ กิจการวิทยุกระจายเสียง มี กระทรวงการคลัง ถือใหญ่สุด 65.80% อันดับ 2.ธนาคารออมสิน 11.48%

อสมท. แจงกรณีเตรียมประกาศผู้ชนะการประมูลภายในเดือนต.ค. 64 และจะเริ่มให้ผู้ลงทุนเข้ามาพัฒนาที่ดิน ช่วงไตรมาส 4 ปี 64 และมีการคาดการณ์จำนวนเงินจากการทำสัญญา ซึ่งจะถูกบันทึกเป็นกำไรปี 64 โดยแจงว่ายังไม่มีการดำเนินการประกาศรายชื่อในเดือนต.ค.64 ตามที่ปรากฎเป็นข่าวแต่อย่างใด

6.BEC (บมจ. บีอีซี เวิลด์) ผลตอบแทนราคาYTD +67.70% (จากสิ้นปี 63 ปิด 8.05 บาท พุ่งมา 13.50 บาท) ราคาต่ำสุดในปี 7.50 บาท (20 ม.ค.) แล้วไปทำราคาสูงสุด 15.00 บาท (15 ก.ค.) แล้วย่อลงมาเหลือ 13.50 บาท

BEC ประกอบธุรกิจคอนเทนต์ - แพลตฟอร์มโทรทัศน์, ดิจิทัลแพลตฟอร์ม, การจัดจำหน่ายลิขสิทธิ์ในต่างประเทศ, มีนาย ทวีฉัตร จุฬางกูร ถือหุ้นใหญ่ 13.60% รวมกับญาติหทัยรัตน์ จุฬางกูร 5.25% ณัฐพล จุฬางกูร ถือ 1.86 % รวมเป็น 20.71% ส่วนตระกูลมาลีนนท์ (รัตนา-อัมพา-นิภา) ถือร่วม 25.10%

ทั้งนี้ BEC จัดเป็นหุ้นได้อานิสงส์จากเปิดเมืองและเศรษฐกิจที่กลับมาหลังผ่อนคลายมาตรการ คาดเห็นเม็ดเงินโฆษณากลับมาฟื้นตัว ส่งผลงบครึ่งปีหลังน่าจะเพิ่มขึ้น

7.UPOIC (บมจ. สหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม) ผลตอบแทนราคาYTD +60.80% (จากสิ้นปี 63 ปิด 4.26 บาท พุ่งมา 6.85 บาท) ราคาต่ำสุดในปี 4.20บาท (4 ม.ค.) แล้วไปทำราคาสูงสุด 7.35 บาท (17 ก.ย.) แล้วย่อลงมาเหลือ 6.85 บาท

UPOIC ประกอบธุรกิจการปลูกปาล์มน้ำมัน และมีโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันเมล็ดในปาล์มดิบ ซึ่งเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น เช่น น้ำมันปรุงอาหาร เนยเทียม ไอศครีม สบู่ แชมพู ส่วนผสมอาหาร เคมีภัณฑ์ อาหารสัตว์

บริษัทฯ คาดรายได้จากการขายผลผลิตปาล์มปีนี้จะเติบโต 30% จากปีก่อน เป็นไปตามทิศทางราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ที่ปรับตัวขึ้น

8.WORK (บมจ.เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์) ผลตอบแทนราคาYTD +47.13% (จากสิ้นปี 63 ปิด 15.70 บาท พุ่งมา 23.10 บาท) ราคาต่ำสุดในปี 15.10 บาท (4 ม.ค.) แล้วไปทำราคาสูงสุด 26.50 บาท (24 มิ.ย.) แล้วย่อลงมาเหลือ 23.10 บาท

WORK ประกอบธุรกิจหลักในการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อออกอากาศและขายโฆษณาในสถานีโทรทัศน์ของบริษัท ซึ่งออกอากาศในระบบดิจิทัล มี นายปัญญา นิรันดร์กุล ถือใหญ่สุด 23.97% และนาย ประภาส ชลศรานนท์ ถือ 22.94%

ทั้งนี้บริษัทฯ พัฒนาคอนเทนต์ใหม่ดึงดูดผู้บริโภค คาดเม็ดเงินโฆษณาเริ่มฟื้นตัวไตรมาส 4/2564

9.UVAN (บมจ.ยูนิวานิชน้ำมันปาล์ม) ผลตอบแทนราคา YTD +46.55% (จากสิ้นปี 63 ปิด 5.80 บาท พุ่งมา 8.50 บาท) ราคาต่ำสุดในปี 4.94 บาท (1 มี.ค.) แล้วไปทำราคาสูงสุด 8.60 บาท (1 ต.ค.) แล้วย่อลงมาปิด 8.50 บาท

UVAN ประกอบธุรกิจหลัก คือ สวนปาล์ม สกัดน้ำมันปาล์มดิบ และน้ำมันเมล็ดในปาล์มดิบ เพื่อจำหน่ายให้แก่โรงกลั่นน้ำมันปาล์มทั้งในและต่างประเทศ มีนาย อภิรักษ์ วานิช ถือใหญ่สุด18.92%

ทั้งนี้ UVAN ทำนิวไฮรอบกว่า 3 ปี ทิศทางราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับตัวขึ้น หลังผลผลิตปาล์มในช่วงปลายปี 63 ที่ออกมาค่อนข้างน้อย

10.INTUCH (บมจ. อินทัช โฮลดิ้งส์) ผลตอบแทนราคา YTD +45.00% (จากสิ้นปี 63 ปิด 56.25 บาท พุ่งมา 79.50 บาท) ราคาต่ำสุดในปี 54.50 บาท (2 มี.ค.) แล้วไปทำราคาสูงสุด 90.75 บาท (7 ก.ย.) แล้วย่อลงมาเหลือ 79.50 บาท

INTUCH ประกอบธุรกิจด้านการลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคม สื่อ เทคโนโลยี และดิจิทัล มีบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ถือใหญ่สุด 31.40%

จากการเคลื่อนไหวล่าสุด บอร์ด INTUCH มีมติแต่งตั้ง ‘กานต์ ตระกูลฮุน’ อดีตแม่ทัพ ปูนซิเมนต์ไทยนั่งประธาน ขณะที่ ‘สารัชถ์ รัตนาวะดี’ รองประธาน มีผลตั้งแต่ 1 ต.ค.เป็นต้นไป

ทั้งนี้ หุ้นสัมปทาน ถือว่าเป็นของต้องห้ามของการเมือง ที่ห้ามไม่ให้เข้าไปถือหุ้นในบริษัทที่ได้รับสัมปทานหรือเป็นคู่สัญญากับรัฐ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมนั่นเอง